ความรู้ และการรับรู้ภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, หญิงตั้งครรภ์, ความรู้, การรับรู้ภาวะคุกคามของโรคบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ และการรับรู้ภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และการรับรู้ภาวะคุกคามของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลตรัง ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 108 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3) การรับรู้ความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 4) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรง (CVI) เท่ากับ .93 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นด้านความรู้ โดยใช้ KR-20 และด้านการรับรู้ภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยใช้ Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .64 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่ำเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.40) มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่กลุ่มตัวอย่างตอบได้ถูกต้องน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกาสามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ (ร้อยละ 10.70) ผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาส่วนใหญ่มักมีอาการรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ (ร้อยละ 20.20) และการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำลาย น้ำมูก ของผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาทำให้ติดเชื้อโรคนี้ได้ (ร้อยละ 23.80)
2. การรับรู้ภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งการรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ในระดับมาก (M=4.13, SD=.569 และ M=3.53, SD=.529 ตามลำดับ)
3. ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสซิกาไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความรุนแรง (r=0.005, p>.05) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา (r=-0.034, p>.05)
ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการให้ความรู้ และเสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรับรู้ภาวะคุกคามของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์ต่อไป
References
Best, W. J. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2016). Movement of Zika Virus Disease. Issued on February 14, 2016 Retrieved October 31, 2017 from http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/files/khwaamekhluuenaihworkhtidechuueaiwraschikaa_14feb.pdf
Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2016). Knowledge of Zika Virus Disease. Retrieved October 31, 2017 from http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/factsheet_ zika020259.pdf
Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). Q&A: Zika Virus Disease and Pregnant Women. Retrieved October 31, 2017 from http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/QAforpreg_ Jurai_5Jan2016.pdf
Bureau of Emerging Infectious Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). Zika Virus Disease. Situation on May 15, 2017. Retrieved October 31, 2017 from http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/sites/default/files/Sitution%20 Zika150560.pdf
Chibueze, C. E., Tirado, V., Lopes, S. K., Balogun, O. O., Takemoto, Y., Swa, T., et al. (2017). Zika Virus Disease Infection in Pregnancy: a Systematic Review of Disease course and Complications. Reproductive Health (2017) 14:28. Retrieved October 31, 2017 from DOI:http://dx.doi.org/10.1186/s12978-017-0285-6
Department of Disease Control, Ministry of Public Health (2016). Manual of Zika Virus Disease Prevention and Control for Health and Public Health Personnel. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majesty the King Printing.
Government Pharmaceutical Organization. (2017). Zika Virus Disease Infection. Research & Develoment Newsletter GPO, 24 (1), 7-11.
Janpet, A., & Sivadamrongpong, W. (2009). Knowledge, Perception, and Social Support on a Preventive Behavior of Dengue Hemorrhagic Fever of People at Yala City Municipality. Boromarajonani College of Nursing, Yala.
Janyapat, P. (2017). Zika Virus Disease with Aedes Mosquito Vector: Warning for Pregnant Women in Having Baby with Microcephaly. Retrieved August 17, 2017 from http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article/detail/?page;
Pratoomsri, N., & Silaporn, P. (2017). The Zika Virus Disease Outbreak in Health Region 4; September-December, 2016. Journal of Medical and Public Health Region 4, 7(1), 27-37. World Health Organization. (2016). Zika virus Fact Sheet. Retrieved August 17, 2017 http:// www.who.int/mediacentre/factsheets/zika/en/
Strecher, V. J., & Rosenstock, I. M. (1996). The Health Belief Model. In K. Glanz, F. Lewis, & B Rimer (Eds.). Health Behavior and Health Education: Theory, Research, and Practice (2nd ed., pp.41-59). San Francisco, CA: Jossey-Bass Publishers.
Wauters, Y., Poopattayakorn, A., & Chotibun, P. (2018). Zika Virus Disease and Pregnancy: Role of Community Health Nurse in the Disease Prevention. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 312-321.
Wiratchai, N. (2012). Statistic in Use. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้