ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา ต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน
คำสำคัญ:
นักศึกษาพยาบาล, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การใช้กรณีศึกษา, การดูแลสุขภาพชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2561 ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 2 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา ได้ค่าความตรงเท่ากับ .92 2) แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพชุมชน ได้ค่าความตรงเท่ากับ 1.00 ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่า KR-20 เท่ากับ .67 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน ได้ค่าความตรงเท่ากับ .90 ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Pairs t-test และ ผลการวิจัยพบว่า
นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษามีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้ (M=18.84, SD=3.02) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน (M=50.03, SD=9.25) หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง (M=34.41, SD=1.88; M=88.13, SD=5.22) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001 และ p<.001 ตามลำดับ)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน เกิดความมั่นใจเมื่อต้องลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ในการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการผสมผสานรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอื่นเพิ่มเติม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การแสดงบทบาทสมมติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
References
Apichutboonchock, S, (2015). The Development of a Case Study Learning Model for Developing Student Nurses’ Competency in Respiratory Assessment in a Newborn Intensive Care Unit. Vajira Medical Journal, 59(3), 25-34.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Chaeye, K., Somsap, Y., Nuntakwang, C., & Phanvatr, A., (2019). Effects of Case Study Learning on Systemic Thinking Skill of McCormick Nursing Students in Maternal-Child Nursitn and Midwifery Practicum II Subject. Journal of Nurses Association of Thailand Northern Office, 25(1), 23-35. (In Thai)
Chandee, M., Palee, P., Niamhom, P., Jongkae, P., & Sengpanit, T., (2014). Effect of Case Study Teaching in the Subject of Nursing Care for Person with Health Problem Practicum I on Nursing Students Abilities of Applying Nursing Process. Journal of Nursing and Education, 7(4), 135-155. (In Thai)
Khemmani, T., (2013). Science of Knowledge Teaching for Efficient Learning Process Management. 17th Edition. Bankok: Sutthakan Printing.
Kullrawong, T., & Sirisamphan, O., (2015). The Development of Learning Achievement and Problem Solving Abillties on The Environmental Crisis of Mathayomsuksa 2 Students Using Case Study And Problem Solving. Veridian E-journal, Slipakorn University, 8(2), 1735-1748.
Nitirat, P., & Jarujit, S., (2016). Nursing Process and Community Health Care. Bangkok: Tanapress. (In Thai)
Office of Nation Education Standards and Quality Assessment. (2002). Criteria and Methods for Evaluating External Quality of Basic Education Institutions. Bankok: Office of Nation Education Standards and Quality Assessment. (In Thai)
Punthasee, P., & Sikaow, O., (2009). The Effectof ClinicalTeaching by Using CaseStudiesonthe Ability Development of Applying Nursing Process in Clinical Practice of Nursing Students. Thai Journal of Nursing Council, 24(3), 81-93 (In Thai)
Sirisom, K., Wunnawilai, P., Ampansirirat, A., Chuencharoen, S., & Chitviboon, A., (2015). Effect of Case Studies Combined with Concept Mapping Technique on Critical Thinking of Nursing Students. Journal of Nursing Science, 33(1), 18-26. (In Thai)
Tantalanukul, S., Netchang, S., Udomleard, M., Kaewkong, N., Phromma, A., & Fongkeard, S., (2017). Effect of Integrated Learning Method on Nursing Students’ Learning Achievement about Health Promotion in Patients with Knee Osteoarthritis. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 1-13. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้