การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลธงชัย จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (Community-Based Participatory Research) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลธงชัย จังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่ออธิบายกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 52 คน และแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-26 ข้อคำถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและ Paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งประกอบไปด้วย 4 ระยะ คือ1) ระยะการวางแผน 2) ระยะการดำเนินการ 3) ระยะการกำกับติดตาม 4) ระยะการประเมินผล
2. ผลลัพธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วม 1) เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุคือ “โครงการสร้างสรรค์ สร้างสุข สูงวัยตำบลธงชัย” ภายใต้หลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ชุมชนเลือกที่จะดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประกอบไปด้วย ภาวะผู้นำที่ดี มีความมุ่งมั่น คณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุที่มาจากภาคีเครือข่ายและประสานความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่ และเกิดความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชน 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตในภาพรวมและรายด้านของผู้สูงอายุหลังเข้าโรงเรียนผู้สูงอายุดีกว่าก่อนเข้าโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
ผู้วิจัยเสนอแนะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้กับทุกตำบล ในจังหวัดเพชรบุรี โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อสร้างจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเข้ามาร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบในทุกกระบวนการ
References
Akeparakorn, A. (Eds.). (2014). Thai Physical Exam Survey 2014. Nonthaburi: Health System Research Institute.
Cruz, A. D. (1986). On Loneliness and the Elderly. Journal of Gerontology Nursing, 2(11), 22-27.
Havighurst, R. J. (1961). Successful Aging, The Gerontologist, 1(1) 8-13.
Israel, B. A., Eng, E., Schulz, A. J., & Parker, E. (Eds.). (2013). Methods for Community-Based Participatory Research for Health. (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass A Wiley Imprint.
Kantaros, N., & Santivong, K. (2018). Participatory Action Research for Developing the Piloted Curriculum of Geriatric School in Local Government: A Case Study of Soem Ngammunicipality, Soem Ngam District, Lampang Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 3387-3402.
Mahatnirunkul, S. (1977). Comparison World Health Organization Quality of Life 100 Indicators and 26 Indicator. Chiang Mai: Suan Prung Hospital.
Phalasuek, R., Thanomchayathawatch, B., & Thonglert, D. (2017). A Community Participation Process in Teenage Pregnancy Prevention. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(2), 256-267.
Phetchaburi Public Health Office. (2018). Annual Report. Phetchaburi: Phetchaburi Public Health Office.
Pongsaengpan, P., & Rodjarkpai, Y. (2014). Community Participation on Elderly HealthPromotion in Eastern Thailand. The Public Health Journal of Burapha University, 9(2), 13-20.
Rattarasarn, C. (2017). Current Situation and Co-Operation in Diabetes Care Reform in Thailand. Retrieved from 1 December 2018: https://www.novonordisk.com/content/dam /Denmark/HQ/sustainablebusiness/pe rformance-on-tbl/more-about-how-wework/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_ 2017_TH.pdf
Oakley, P. (1991). The Concept of Participation in Development. Landscape and Urban Planning, 20(1–3), 115-122.
Sapkaew, Y. (2016). The Development of Elderly’s Quality of Life by Using the Elderly School Curriculum, The Excellent Center in Health Promotion of Elderly, Boromarajonani College of Nursing Nakhon Si Thammarat. Journal of Nursing and Education, 9(2), 25-39.
The WHOQOL Group. (1998). Development of the World Health Organization WHOQOL-BREF Quality of Life Assessment. Psychological Medicine, 28, 551–558.
WHO. (1997). The Development of the World Health Organization Quality of Life Assessment Instrument (The WHOQOL). IN O.J & Kunyken (Eds.), Quality of Life Assessment: International Perspective, 41-60.
Wongprom, J., Jongwutiwes, K., Prasertsuk, N., & Jongwutiwes, N. (2015). Community Participation in the Development of Older Persons’ Quality of Life. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(3), 41-54.
Zhan, L. (1992). Quality of Life: Conceptual and Measurement Issues. Journal of Advance Nursing, 17(7), 795-800.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้