การวิเคราะห์ศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ ในการพัฒนาสู่พฤฒิพลัง

ผู้แต่ง

  • ลินจง โปธิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รจนา วิริยะสมบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ภารดี นานาศิลป์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จารุณี วาระหัส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ศักรินทร์ สุวรรณเวหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

ศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุ, พฤฒิพลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุตามตัวชี้วัดภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุภาคใต้ 6 ชมรม ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกชมรม จำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อคำถามเชิงลึก แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินชมรมผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และบรรยายตามประเด็นที่ศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ สมาชิกชมรมผู้สูงอายุจำนวน 6 ชมรม จำนวน 132 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยง หาค่าความเชื่อมั่นด้วยการวัดซ้ำ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุในภาคใต้ตามตัวชี้วัดภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย 1) ชมรมผู้สูงอายุทุกชมรมมีความเข้มแข็งเหมาะสมเป็นชมรมต้นแบบ ส่วนใหญ่มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นลายลักษณ์ แต่ด้านกิจกรรมด้านการระดมทุนและการมีส่วนร่วมกับชุมชน ดำเนินการแต่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 2) กิจกรรมการมีต้นแบบสุขภาพ การประเมินสุขภาพจิต การรับรู้สิทธิ์ และการระดมทุนด้านเงิน บางชมรมยังไม่ดำเนินการ 3) ชมรมส่วนใหญ่มีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย 4) มีการออกกำลังกายที่หลากหลาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และมีความพึงพอใจในกิจกรรม 5) ชมรมส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ บุคคลในครอบครัว และวัดในชุมชน

2. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.27 รายด้านพบว่า การเจริญทางจิตวิญญาณ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการจัดการกับความเครียด พฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 69.70, 57.58, 52.27 ตามลำดับ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มลดลง

ผลการศึกษา เป็นแนวทางการกำหนดรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งสู่ภาวะพฤติพลัง และผลักดันนโยบายด้านผู้สูงอายสู่ระดับชาติ การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในชมรมที่ไม่ได้เป็นต้นแบบ

References

ACSM. (2001). ACSM’S Resourse Manual for Guideline for Exercise Testing and Prescription. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Avani, S. (2010). Public Health Management of The Violent Situation in The Southern Border Princes. Nonthaburi: Health System Research Institute. (in Thai)

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Engle Wood Cliffs, N. J. Prentice.

Chumkaew, K., & Rangsiyatorn, C. (2014). Knowledge Attitude and Food Consumption Behaviors among Elders in Songkhla Province. Kasetsart Journal, 35, 16-29. (in Thai)

Chunharusamee, (2010). Situation of Thai Elderly. Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. 2008.

College of Population Studies, Chulalongkorn University & Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2013). The Report of the Situation of the Elderly in Thailand 2012. Nonthaburi: Es-Es Plus Media. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Naka, K., Taboonpong, S., & Khupantavee, N. (2004). Exercise among Elderly Living in Songkhla Province. Songklanagarind Journal of Nursing, 24(3), 213-229.

National Statistical Office. (2014). The Majors Results of Drinking and Smoking Behaviors among Thai Population. Retrieved from http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/ files/smokeRep57.pdf. Retrieved from http: //216.185.112.5/presenter. Jhtml?identifer=4559. (in Thai)

Panuthai, S., Sucamvang, K., & Lasuka, D. (2008). Predictive Factors of Behavioral Modification of the Chronically Ill Elderly in Northern Region of Thailand. Faculty of Nursing, Chiang Mai University: Chiang Mai, Thailand. (in Thai)

Panya, P., Sethabouppha, H., & Jormsri, P. (2013). Experiences of Relapsing among, Elderly with Alcohol Dependence. Nursing Journal, 40(4), 45-55. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (4th ed.). New Jersey: Upper Saddle River.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research: Principles and Methods. (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Pothiban, L. (2000). Risk Factor Prevalence, Risk Status and Perceive Risk for Coronary Heart Disease among Thai Elderly. Nursing Newsletter, 27(2), 16-28.

Pothiban, L. (2002). Health Promotion Model for Chiangmai Population. Unpublished Research Report.

Senior Citizens Council of Thailand. (2009b). National Policy on Senior Citizens Council of Thailand 2011-2015. Retrieved from https://dl.dropboxusercontent.com/u/50326557/ Khukhan-elderly-club22554-2558.pdf. (in Thai)

Sungkachat, B., Chantaveemuaeng, V., & Chuseang, S. (2012). Health Promoting Behaviors of Elderly in the Elderly Club of Songkhla Municipality. Retrieved from

httpp://1.179.130.166/manage/Research_pic/20121220170955.docx. (in Thai)

The National Committee for the Elderly. (2009).The 2nd National Committee for the Elderly (2002 – 2021) The 1st Revised Version (2009). Bangkok: Teppenvanits. (in Thai)

Walker, S. N., Sechrist, K. R., & Pender, N. J. (1987). The Health-Promoting Lifestyle Profile: Development and Psychometric Characteristics. Nursing Research, 36(2), 76-81.

Warahut, J., & Chitviboon, A. (2010). Health Promoting Behaviors of Elderly in the Elderly Club of Boromarajonani College of Nursing, Songkhla. Boromarajonani College of Nursing, Songkhla Reported. (in Thai)

Wonglamthong, S. (1999). Personal Factors Perceived Benefits of Health Promoting Behaviors and Health Promoting Behaviors of the Elderly. Master’s Thesis, Faculty of Graduate Studies, Chiang Mai University.

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework (WHO/NMH/NPH/02.8). Retrieved from http://www.unati.uerj.br/doc_gov/destaque/Madri2.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29