การรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมน ในโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภัคณัฐ วีรขจร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
  • โชคชัย ล้อมทอง โรงพยาบาลขอนแก่น
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

ยาต้านฮอร์โมนชนิดรับประทาน, ระยะเวลารอดชีพ, มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบย้อนหลังแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดรับประทาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านม และได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดรับประทาน จำนวน 620 คน ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 และติดตามสถานะจนกระทั่งถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยในศูนย์รังสีรักษาและเคมีบำบัด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีของ แคปลานและไมย์เออร์ (Kaplan-Meier) ในการวิเคราะห์อัตรารอดชีพ และใช้ Log-Rank test ในการทดสอบทางสถิติ ผลวิจัยพบว่า

อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดรับประทานผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีอายุเฉลี่ย 53.4 ปี (SD=10.8) อัตราการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนจำแนกตามชนิดของยาต้านฮอร์โมนกลุ่มที่ได้ยาต้านฮอร์โมนชนิด Tamoxifen อย่างเดียวร้อยละ 41.90, ชนิด Letozole อย่างเดียวร้อยละ 22.55 และกลุ่มที่ได้รับยาทั้งสองชนิดร่วมกัน (Tamoxifen ร่วมกับ Letozole) ร้อยละ 35.55 โดยอัตราการรอดชีพรวมที่ระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 96, 86 และ 78 ระยะเวลาการรอดชีพโดยรวมหลังได้รับยาต้านฮอร์โมนเท่ากับ 5.6 ปี กลุ่มที่ได้รับยาทั้งสองชนิดร่วมกัน (Tamoxifen ร่วมกับ Letozole) มีอัตราการรอดชีพที่สูงสุดเท่ากับ 4.6 ปี ซึ่งอัตราการรอดชีพโดยรวมที่ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 74.7 (95%CI:=68.03 ถึง 80.19) รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับยาชนิด Letozole อย่างเดียวเท่ากับ 3.2 ปี และอัตราการรอดชีพโดยรวมที่ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 62.9 (95%CI:=53.55 ถึง 70.94) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาต้านฮอร์โมนจำแนกตามระยะของมะเร็งเต้านมในแต่ละปัจจัยพบว่า กลุ่มมะเร็งเต้านมระยะที่ 3 มีอัตราการรอดชีพเท่ากับ 3.5 ปี และอัตราการรอดชีพที่ 5 ปี เท่ากับร้อยละ 65.8 (95%CI:=57.71 ถึง 72.63) ซึ่งสูงกว่ากลุ่มระยะที่ 4

จากผลการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางในการแผนการรักษาซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการรอดชีพในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่ได้รับยาต้านฮอร์โมนชนิดอื่นต่อไป

References

American Cancer Society. (2013). Breast Cancer Survival Rate by Stage [Online] 2013 [cited 2013 Oct 10]. Available from: http://www.cancer.org/cancer/breastcancer/ detailedguide / breast -cancer-survival-by-stage

Department of health. (1998) Reports on health and social subjects No.48. Nutritional aspects of the development of cancer. The stationery office: Norwich.

Gray, R. G., Rea D. W., Handley, K., Marshall, A., Pritchard, M. G., Perry, et al. (2008). aTTom (Adjuvant Tamoxifen-To Offermore?): Randomized Trial of 10 Versus5 Years of Adjuvant Tamoxifen among 6934 Women with Estrogen Receptor-Positive (ER+) or ER Unteste Breastcancer-Preliminary Results [abstract]. Journal Clinical Oncology, 2008; 26.

Imsamran, W. Chaiwerawattana, A., Wiangnon, S., Pongnikorn, D., Suwanrungrung, K., Sangrajrang, S., et al (2015). “Cancer in Thailand Vol VI, 2010-2012”. Bangkok: New Thammada Press(Thailand) Co., Ltd, 2015 pp 8-50.

International Agency for Research on Cancer. (2013). Globocan 2012. Retrieved Aug 7, 2013 from: http://globocan.iarc.fr/factsheet.asp

Hammond ME, Hayes DF, Dowsett M, Allred DC, Hagerty KL, Badve S, et al. (2010). American Society of Clinical Oncology/ College of American Pathologists Guideline Recommendations for Immunohistochemical Testing of Estrogen and Progesterone Receptors in Breast Cancer. J ClinOncol ;28:2784- 95.

Kelsey J. L., Gammon M.D., John E.M., (1993) Reproductive fators and breas cancer. Epidemiol Rev, 15(1) 36-47.

Khuhaprema T, Attasara, P., Sriplung, H., Wiangnon, S., Sumitsawan, Y., Sangrajrang, S., (2012). Cancer in Thailand VI 2004-2006. Bangkok: National Cancer Institute; 2012.

Kongsiang, A., Tangworaphongchai, W., Chiraphonkun, C., (2014). Survival Time and Molecular Subtypes of Breast Cancer After Radiotherapy in Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 15(23) 10505-1508.

Peto, R., & Davies, C. (2007). ATLAS (Adjuvant Tamoxifen, Longer Against Shorter): International Randomized Trial of 10 Versus 5 Years of Adjuvant Tamoxifen among 11, 500 Women-Preliminary Results. Presen Tation at the 30th Annual San Antonio Breast Cancer Symposium, December 13-16, 2007;

Phaluksuk, W., Srikun, P., Raksilp, M., Chueasatuchon, S., Suwanpaeng, S., Suwanrungrung, K., et al. (2014). “Cancer Registry KhonKaen Hospital-Based Report KhonKaen Hospital 2012 - 2014”. Khon Kaen: Khon kaen karn pim.

Poum, A., Kamsa-ard, S., Promthet, S. (2012). Survival Rates of Breast Cancer: A Hospital-Based Study from Northeast of Thailand. Asian Pac J Cancer Prev, 13(3), 791-4.

Supaporn, S., Kranjanalab, S., Wongkiat, S., (2004). Breast cancer. Bangkok, Phramongkutklao Hospital.

The Breast International Group. (2005). (BIG) 1-98 Collaborative Group. A Comparison of Letrozole and Tamoxifen in Postmenopausal Women with Early Breast Cancer. 2005 Dec 29;353(26):2747-57.N Engl J Med, [Online] 2017 [cited 2017 Oct 10] Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16382061

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-01