การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ศุภพิชญ์ ญาณโสภณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ 3อ2ส, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ความรอบรู้ทางสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูล/บริการสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส 2) สภาพการณ์และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส 3) รูปแบบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส และ 4) ประสิทธิผลของรูปแบบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความรู้ความเข้าใจ การเข้าถึงข้อมูล/บริการสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ ได้ค่า KR20 เท่ากับ .710 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค .742 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพการณ์ และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3ส 2อ จากผู้ให้ข้อมูล 9 คนด้วยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 ศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส โดยผู้วิจัยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 การทบทวนวรรณกรรม และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูล 9 คน มายกร่างรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นรูปแบบ SUKHO Model แบบสอบถามพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ค่าความตรงระหว่าง .67 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .742 และ .805 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลวิจัยพบว่า

1. นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสุโขทัย ส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลัก 3อ 2ส อยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 66.2 การเข้าถึงข้อมูล/บริการสุขภาพ อยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 72.9 และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.04, SD=0.31)

2. สภาพการณ์ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3ส 2อ ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย พบว่า ขาดการบูรณาการระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุข การจัดการเรียนการสอนเน้นการสอนรายวิชาหลัก ขาดตัวแบบที่ดีจากเพื่อนและครอบครัว และนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการสูบบุหรี่และดื่มสุรา สำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างโรงเรียนแห่งความสุข การมีส่วนร่วม การมีบุคคลต้นแบบ การสร้างคุณค่าและสร้างกระแส การบริหารเวลาของนักเรียน และการใช้สื่อออนไลน์

3. รูปแบบบการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย คือ SUKHO Model ประกอบด้วย 1) S: School 2) U: Ultimate Friends 3) K: Key Persons 4) H: Home และ 5) O: Online Media

4. หลังใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ SUKHO Model นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุโขทัย มีพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส และความรอบรู้ด้านสุขภาพ สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p<.001)

References

Chaikoolvatana, C., Sutti, P., & Jaimalai, W. (2018). Smoking Behavior and Risk Factors Associated with Smoking of Early Adolescents in Phayao Province, Thailand. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27(3), 57-67. (in Thai)

Chidnayee, S., & Yottavee, W. (2018). Factors Related with Smoking Behaviors of Youth at Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 10(1), 83-93. (in Thai)

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.

Fongkerd, S., Pookitsana, S., Tangjirawattana, M., & Tantalanukul, S. (2017). Factors Influencing Health Promoting Behaviors of Thai Adolescents. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 27(Special), 196-209. (in Thai)

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Intarakamhang, U. (2017). Health Literacy: Measurement and Development. Bangkok: Sukum Printing. (in Thai)

Jirojkul, P. (2005). Nursing Research, Concepts, Principles and Practices. Bangkok: Sangsue. (in Thai)

Ministry of Education. (2015). Study Time Management Manual "Reduce Study Time, Increase Time to Know". Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2017). Behavior Modification by Principles 3 Aor 2 Sor. Retrieved June 4, 2019 from https://live.siammedia.org/index.php/ article/chit-chat-health/21163. (in Thai)

Muangnapoe, S. (2016). Development of Health Promoting School Management Model in Primary Level (Phase1). Journal of Education Research Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 11(1), 209-219. (in Thai)

National Statistical Office Thailand. (2009). Health Care Behavior Survey B.E. 2552 (Food Consumption Behavior). Retrieved June, 14, 2019 from https://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/service/survey/ healthCare_52.pdf. (in Thai)

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of Practice (6th ed.). St. Louis: Mosby.

Paibulsiri, P. (2018). Health Literacy and Health Behaviors 3E 2S of Public Sector Executives, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Abstract. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 8(1), 97-107. (in Thai)

Panpuk, A., Butcharoen, J., & Mawinthorn, W. (2018). The Satisfaction of Moderate Class, More Knowledge Program to Improve of Physical Fitness of Junior High School Students in Pha Nakhon Si Ayuthaya. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 5(2), 289-300. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (6th ed.). Boston: Pearson.

Pookitsana, S., Mokkhaw, K., & Fongkerd, S. (2016). Influencing Factors of Health Promoting Behavior of Adolescents in the Area of Responsibility of Mueang Chon Buri Hospital. Journal of Research Methodology & Cognitive Science, 14(2), 114-124. (in Thai)

Ratanathaworn. (2015). The Policy Implementation Model of Health Promotion in Basic Education Institutions. EAU HEritAgE JoUrnAl Social Science and Humanity, 5(3), 281-293. (in Thai)

Sarakshetrin, A., Chantra, J., Kwanshom, R., & Ruangdoung, R. (2017). The Effects of Using Health Behavior Changing Program (Food, Exercise, Emotion, Smoking, and Alcohol Cessation) among Village Health Volunteers at Klongchanak, Muang District, Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 253-264. (in Thai)

Sokhothai Provincial Health Office. (2019). Behavior Surveillance Report Related to HIV Infection. Student Group Sukhothai Province in 2019. Copy Print. (in Thai)

Somchit, S., & Namfone, N. (2013). The Health Status of Early Adolescent in Sathon, Bangkok Metropolitan Administration. Naresuan University Journal, 21(1), 55-63. (in Thai)

Sripitak, T., Chutipattana, N., & Thongsamsi, I. (2019). Factors Related to Health Literacy Associated with Consuming Behavior and Exercise in Preventing Obesity Syndrome of Adolescent Students in Yala Province. The 10th Hatyai National and International Conference, July 12 -13, 2019. Hatyai University. (in Thai)

Thiluang, B., Sririsawang, W., & Teamjun. (2015). Behaviors of High School Student in DoiLor District Chiangmai Province. Journal of Graduate Research, 6(1), 77-91. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-20