การพัฒนารูปแบบการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ ในนักศึกษาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • พิชญ์วรา จันทร์แย้ม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • อุทัย ทับทอง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการสอน, เกม, รหัสทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบ และประสิทธิผลของรูปแบบการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ วิชารหัสทางการแพทย์ 1 ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาศึกษาสถานการณ์ ในนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปีที่ 2 จำนวน 6 คนและอาจารย์ผู้สอน จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ โดยผู้วิจัยนำผลการวิจัยจากขั้นตอนที่ 1 และการทบทวนวรรณกรรมมายกร่างรูปแบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และประโยชน์ต่อนักศึกษา หาประสิทธิภาพของเกมการให้รหัสทางการแพทย์ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.69/84.75 ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ จากนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 คน กลุ่มทดลอง 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และความต้องการรูปแบบการสอนการให้รหัสทางการแพทย์ วิชารหัสทางการแพทย์ 1 พบว่า มีการสอนภาคทฤษฏีแบบบรรยายจากหนังสือ ICD-10 ทำให้ผู้เรียนไม่สนใจเรียน เกิดความเบื่อหน่าย สำหรับภาคปฏิบัตินักศึกษาหารหัสได้บ้างบางส่วนรอเฉลยจากอาจารย์ และขาดความกระตือรือร้นในการค้นหารหัสด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนที่น่าสนใจ มีความท้าทาย เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ และเพิ่มพูนความรู้ ความจำและทักษะการให้รหัสทางการแพทย์ไปด้วย

2. รูปแบบการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการสอน โดยใช้เกม Kahoot และเกมแข่งขันเปิดหารหัสทางการแพทย์ประเภททีม

3. นักศึกษามีความรู้เรื่องการให้รหัสทางการแพทย์ วิชารหัสทางการแพทย์ 1 หลังการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ มากกว่าก่อนสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 และความต่างของคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อน (M=24.70, SD=3.68) และหลังการสอน (M=17.76, SD=2.99) ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 นอกจากนี้นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการสอนด้วยเกมการให้รหัสทางการแพทย์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.47, SD=0.31)

รูปแบบการสอนด้วยเกมเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เพื่อให้เหมาะสมกับตัวผู้เรียน โดยสามารถปรับเปลี่ยนคำถามในเกม หรือเพิ่มเนื้อหาบทอื่น ๆ

References

Kaewkongphan, D. (2009). Using Games to Develop Science Process Skills of Grade Level 3 Students. Bachelor of Education College Chiang Mai University. (in Thai)

Khemmanee, T. (2004). 14 Teaching Methods for Professional Teachers. (12th ed.) Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. (in Thai)

Khemmanee, T. (2007). Teaching Science: Knowledge for the Process of Learning Management is Effective. (6thed.) Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University. (in Thai)

Krachadthong, S. (2012). The Development of Computer Assisted Instruction: Game Type Subject Basic of Computer on Component of Computer for Mathayomsuksa 2 Students of Sriprachan Methipramuk School. Suphanburi Provice, Silpakorn University. (in Thai)

Moolcome, S., & Moolcome, O. (2007). 19 Learning Management Methods for Developing Knowledge and Skills. Bangkok: Publisher of Paphim. (in Thai)

Nicmanon, P. (2000). Evaluation and test Construction. Bangkok: Publisher of Aksarapipat. (in Thai)

Singwiratham, N. (2019). The Development of an Instructional Model Based on Didactic Teaching by Using VARK Learning Styles on Analytical Thinking on Public Health Program in Community Health, Supanburi. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(3), 27-40. (in Thai)

Upakrankew, K. (2019). The Result of Teaching by Using Kahoot Application on Science Learning Achievenment on the Diversity of Life for Grade 4 Students at Raibon School. Graduate Diploma (Teaching Profession) Southern Technological College. (in Thai)

World Health Organization. (2016). International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems 10th Revision. Geneva. Fifth Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29