ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพร่องทางการรู้คิดขั้นต้น
คำสำคัญ:
การกระตุ้นการรู้คิด, ความจำ, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, ผู้สูงอายุ, ภาวะพร่องทางการรู้คิดขั้นต้นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพร่องทางการรู้คิดขั้นต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพร่องทางการรู้คิดขั้นต้นซึ่งอาศัยอยู่ในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 40 ราย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2562 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด จำนวน 20 ราย และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย แบบแบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินพุทธิปัญญา MoCA และแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด ทั้งหมด 14 ครั้งครั้งละ 45 นาที/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงของเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Mann-Whitney U ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความจำและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในกลุ่มควบคุมก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน ในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดมีค่าเฉลี่ยคะแนนความจำและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (M=19.82, SD=4.98; M=20.43, SD=5.01) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด (M=17.26, SD=5.01; M=19.40, SD=4.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ภายหลังได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด คะแนนเฉลี่ยของอันดับคะแนนความจำและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่ในกลุ่มทดลอง (M=27.02, SD=5.40; M=25.08, SD=5.01) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ทดลอง (M=13.98, SD=2.79; M=15.92, SD=3.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .001 ตามลำดับ
สรุปได้ว่า โปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดเพื่อส่งเสริมความจำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมความสามารถด้านความจำและการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องขั้นต้นได้
References
Anstey, K. J., Cherbuin, N., Christensen, H., Burns, R., Reglade-Meslin, C., Salim, A., & Sachdev, P. (2008). Follow-Up of Mild Cognitive Impairment and Related Disorders Over Four Years in Adults in Their Sixties: The PATH Through Life Study. Dementia and Geriatric Cognitive Psychiatry, 16, 1092-1097.
Belleville, S., Gilbert, B., Fontaine, F., Gagnon, L., Menard, E., & Gauthier, S. (2009). Improvement of Episodic Memory in Person with Mild Cognitive Impairment and Healthy Older Adult: Evidence from a Cognitive Intervention Program. Dementia and Geriatric Cognitive Disorder, 22, 486- 499.
Eakplakorn, W. (2017). The 5th Thai Health Survey by Physical Examination 2014. Health Systems Research Institute. (in Thai)
Farias, S, T., Mungas, D., Reed, B. R., Harvey, D., & De Carli, C. (2009). Progression of Mild Cognitive Impairment to Dementia in Clinic-vs Community-Base Cohorts. Achieve Neurology, 66(9), 1151- 1157.
Jain, K. K. (2006). Neurology of Ageing. Retrieved January 01, 2018 from http://www.medlink.com
Kwok, T., Wong, A., Chan, G., Shiu, Y. Y., Lam, K., Young, D., Ho, D., & Ho, F. (2013). Effectiveness of Cognitive Training for Chinese Elderly in Hong Kong. Clinical Interventions in Aging, 8, 213-219.
Meaungpaisan, V. (2015). Dementia: Prevention, Assessment and Care. Bangkok: Department of Medicine Social Protection Faculty of Medicine Siriraj Hospital. (in Thai)
Petersen, R. C., Stevens, J. C., Ganguli, M., Tangalos, E. G., Cummings, J. L., & DeKosky, S. T. (2001). Practice Parameter: Early Detection of Dementia: Mild Cognitive Impairment (an evidence-Based Review). Neurology, 56, 1133-1142.
Spector, A. (2003). Efficacy of an Evidence-Based Cognitive Stimulation Therapy Programe for People with Dementia: Ramdomise Controlled Trial. The British Journal of Psychiatry, 183, 248-254.
Suwanmosi, P., & Kadepitchayawattana, J. (2017). Effects of Cognitive Stimulation Program on Memory of Community-Dwelling Older Persons with Mild Cognitive Impairment. Journal of The Police Nurse, 8, 45-57 (in Thai)
Thaniwattananon, P. (2010). Health Developing Innovation and Contribute to the Prevention of Dementia in Elderly: Case Study for Health and Rehabilitation in Elderly. Gerontological Nursing. (In Thai)
Takulsithichoke, S., & Suwan, A. (2016). Effects of Cognitive Stimulation Program on the Cognitive Ability and Ability to Perform the Activitiesof Daily Living in Elders Who are at Risk of or Have Dementia. Thai Red Cross Nursing Journal, 9, 145-159. (In Thai)
Woods, B., Aguirre, E., Spector, A, E., & Orrell, M. (2012). Cognitive Stimulation to Improve Cognitive Functioning in People with Dementia. Cochrane Database of Systematic Reviews Cochrane Database Systematic Review, (2), CD005562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้