ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษา
คำสำคัญ:
โปรแกรมเตรียมความพร้อม, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, เด็กป่วยวัยเรียน, โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 6-12 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษาได้ค่าความตรงเท่ากับ 1.00 2) แบบสัมภาษณ์การวัดผลการใช้โปรแกรม ได้ค่าความตรงเท่ากับ .93 ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Pairs t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. โปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษา ประกอบด้วยกิจกรรม 1) การสอน 2) การชี้แนะ 3) การสนับสนุน 4) การจัดสิ่งแวดล้อม และ 5) การติดตามเยี่ยมและประเมินผล
2. กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษา มีระดับค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การสร้างโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในระยะเริ่มต้นการรักษาด้วยกระบวน การสอน การชี้แนะ การสนับสนุน และการจัดสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผู้ป่วยรับรู้ข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
References
Munker, R., Hiller, E., & Paquette, R. (2017). Modern Hema-Tology: Biology and Clinical Management. 2nd ed. Totowa: Humana Pr.
Nabundit, R., & Tangvoraponkchai, J. (2012). The Effects of Innovation in Providing Health Information and Health Game on Self-Care Behaviors for Adolescent with SLE Admitted in Hospital. Journal of Nursing Science & Health, 35(1), 7-10. (in Thai)
Namkhum, S., & Tangvoraponkchai, J. (2014). The Effect of a Preparation Program on Self–Care Behaviors in School Age Children with Leukemia During the Relapse Stage. Journal of Nursing Science & Health, 37(3), 1-8. (in Thai)
National Cancer Institute. (2017). Hospital Based Cancer Registry 2017. Bangkok: Pornsup Printing Co., LTD. (in Thai)
Ngokwong, C., & Tangworaphonkchai, J. (2012). The Effect of Learning Program Through a Group Process and Cartoon Storybook on Self Care Behavior in School Age Children with Thalassemia. Journal of Nursing Science and Health, 32(3), 39-46. (in Thai)
Noll, R. B., Maclean, W., Whitt, J., Kaleita, Stehbens, J., & Waskerwitz, M., et al. (2017). Behavioral Adjustment and Social Function of Long Term Survivors of Childhood Leukemia Parents and Teacher Reports. Journal of Pediatric Psychology, 22(42), 41-827.
Orem, D. E. (1995). Nursing Concept of Practice. New York: Mcgrow Hill Book Company.
Paprom, W., & Tangworaphonkchai, J. (2014). The Effect of an Oral Mucositis Care Innovation on Caregivers’Care Behavior among Pre-School Children with Leukemia Recerving Concolidation Phase Chemotherapy. Journal of Nursing Science & Health, 37(1), 21-9. (in Thai)
Piajet, J. (1988). Extracts from Piaget’s Theory. (G. Gellerier, & J. Langer, Trans). New York: Wiley.
Pronzato, P. (2016). Cancer-Related Anemia Management in the 21st Century. Cancer Treatment Reviews, 32, 3-51.
Siripul, P. (2011). Symptom Management: Nursing Care for Pediatric Patients with Leukemia. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Somchit, H. (2010). Self-Care: The Science and Art of Nursing. Bangkok: Mahidol University. (in Thai)
Tangvoraponkchai, J. (2008). Cultural end of Life Care for Leukemic Children in Hospital. Journal of Faculty of Nursing, KKU Research Journal, 31(4), 1-16 (in Thai)
Ungsinun, I. N. (2018). Health Behavior Change Institute of Behavioral Science. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)
Wonkompa, S, kayapart, S, & Arreerard, W. A. (2012). Development of 2D Animation Cartoon on Overweight Children
Problem Campaign. J. Science and Technology Mahasarakham University, 31(2), 155-63. (in Thai)
Woodgate, R. L. (2015). Adolesscents Perspectives of Chronic Illness: “It is hard”. J. Ped Nurse, 3(4), 210-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้