ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เทพไทย โชติชัย หลักสูตรสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กิรณา แต้อารักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สายันห์ ปัญญาทรง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 285 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ .87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Chi-Square และ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่า

1. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 43.51 และรายด้าน ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพอยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.02 ความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 36.14 ทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับดี ร้อยละ 39.63 ทักษะการตัดสินใจอยู่ในระดับดี ร้อยละ 44.73 ทักษะการจัดการตนเองอยู่ในระดับดี ร้อยละ 41.28 และการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับดี ร้อยละ 40.91

2. ระดับการศึกษา (OR=3.88, 95 % CI = 1.77 ถึง 9.39; P-value <0.001) ระบบการส่งเสริมการเรียนรู้ (OR = 3.38, 95 % CI = 1.97 ถึง 5.80; P-value <001) อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อน (OR=2.89, 95 % CI = 1.67 ถึง 5.01; P-value <0.001) การจัดบริการสุขภาพ (OR=2.75, 95 % CI = 1.36 ถึง 5.61; P-value = 0.002) รายได้ต่อเดือน (OR=2.53, 95 % CI = 1.38 ถึง 4.82; P-value = 0.001) สื่อสาธารณะ (OR=2.41, 95 % CI = 1.39 ถึง 4.20; P-value = 0.001) และอายุ (OR=1.79, 95 % CI = 1.07 ถึง 3.05; P-value = 0.019) มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

ควรมีกิจกรรมหรือโครงการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมการจัดการตนเองและการรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

References

Best, J. W. (1978). Research in Education. 3rd ed. India, New Delhi: Prentice Hall, Inc.

Bureau of Non Communicable Diseases. (2019). Campaign Issues for World Hypertension Day 2018. Retrieved September 20, 2018 from http://www.thaincd.com/2016/ news/hot-news-detail.php?id=13106&gid=18

Bureau of Policy and Strategy. (2016). Public Health Statistics 2015. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Chanta, W. (2016). Health Literacy of Self-Care Behaviors for Blood Glucose Level Control in Par Tients With Type Diabetes, Chainat Province. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master Degree of Public Health Promotion Management Faculty of Public Health, Thammasat University. (in Thai)

Chirawatkul, A. (2013). Sample Size Calculation. Khon Kaen: Retrieved September 10, 2018 from http://Downloads/1192-1158-1-PB.pdf

Choeisuwan, V. (2017). Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 183-97.

Health Education Division. (2018). Health Literacy. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Kaewtong, N., Termsirikulchai, L., Leelaphun, P., Kengganpanich, T., & Kaeodumkoeng, K. (2014). Health Literacy of Group at Risk of Hypertension at Ban Nonghoi Sub-District Health Promoting Hospital, Sa Kaeo Province. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(1), 45-56.

Khumthong, T., Potisiri, W., & Kaedumkoeng, K. (2016). Factors Influencing Health Literacy for People at Risk of Diabete Mellitus and Hypertension of Uthai Thani and Ang Thong. Veridian E-Journal, 3(6), 67-85.

Kickbusch, I. S. (2008). HealthLiteracy: Anessential Skill for the Twenty-First Century. Health Education, 108(2), 101-4.
Manganello, J. A. (2008). Health Literacy and Adolescents: a Framework and Agenda for Future Research. Health Education Research, 23(5), 840-847.

Nilnate, W. (2014). Health Literacy in Thai Elders in Senior Citizens Club of Bangkok. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Doctor of Phylosophy Program in Health Research and Management Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. (in Thai)

Orem, D. E. (1985). Nursing: Concepts of Practice (3rd ed.). New York: McGraw-Hill. World Health Organization. (1988). Health Promotion. WHO Publication.

Samran Sub-District Health Promoting Hospital. (2018). Basic Statistical Data in Public Health. Khon Kaen. (in Thai)

Sarakshetrin, A.,Chantra, R., Kwanshom, R., & Ruangdoung, L. (2017). The Effects of Using Health Behavior Changing Program (Food, Exercise, Emotion, Smoking, and Alcohol Cessation) among Village Health Volunteers at Klongchanak, Muang District, Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 253-264. (in Thai)

Wannapakae, J., & Phatisena, T. (2018). Relationship Between Health Literacy and Personal Factors with Health Behavior among Risk Group with Hypertension in Talad Sub-District, Muang District, Nakhon Ratchasima Province. SMT Journal, 4(Special), 176-185.

World Health Organization. (1998). Health Promotion Glossary. Geneva: WHO, p.1-10.

World Health Organization. (2009). Health Literacy and Health Promotion Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya, 26-30.

World Health Organization. (2013). A Global Brief on Hypertension Silent Killer, Global Public Health Crisis. Retrieved January 8, 2019 from http://www.who.int/cardiovascular_ diseases/publications/global_brief_hypertension/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-14