ผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบเย็น ต่อเวลาและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงครรภ์แรก
คำสำคัญ:
การจัดท่าผีเสื้อประยุกต์, การประคบเย็น, เวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว, พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด, หญิงครรภ์แรกบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบเย็นต่อเวลาและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกซึ่งมาคลอดที่โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยคัดเลือกตามคุณลักษณะที่กำหนดจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบเย็น เมื่อปากมดลูกเริ่มเปิด 4 เซนติเมตร บาง 80 % ขึ้นไป โดยจัดท่าทุก 1 ชั่วโมง ครั้งละ 15 นาที และประคบเย็นบริเวณหลังส่วนล่างจนถึงก้นกบครั้งละ 30 นาที จนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 2 ส่วนคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบเย็น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงครรภ์แรก 2) แบบบันทึกการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ การประคบเย็น และระยะเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยใช้ค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคได้ .86 และ .84 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้เวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วของกลุ่มทดลอง (M=2:37, SD=1:12) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (M=4:21, SD=1:06) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=5.76, p<.001)
2. พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว ของกลุ่มทดลอง (M=12.37, SD=2.09)เหมาะสมกว่ากลุ่มควบคุม (M=3.47, SD=2.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=14.67, p<.001)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ร่วมกับการประคบเย็นช่วยลดเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วลง และช่วยให้ผู้คลอดมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิดเร็วได้อย่างเหมาะสม
References
Cheng, Y., & Caughey, A. B. (2014). Normal Labor and Delivery. Retrieved on July 2, 2014 from http://emedicine. medscape.com/article/260036-overview#aw2aab6b4.
Duangmani, K., Somsap, Y., Ingkathawarnwong, T., & Kala, S. (2017). Effects of Modified Bhadrasana Pose on Labor Pain and Duration of Active Phase in Parturients. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 35-49. (in Thai)
Eungapithum, N. (2011). Effect of Cold and Heat Compression on Labor Pain among Primiparous Mothers. Thesis of Master of Nursing Science Program in Advance Midwifery, Nursing Faculty: Chiangmai University. (in Thai)
Gaware, V. M., Dolas, R. T., Kotade, K. B., Dhamak, K. B., Somwanshi, S. B., Khadse, A. N., & Nikam, V. K., (2011). Promotion and Improvement of Ferity by Yoga. International Journal of Drug Formulation And Research, 2(3), 1-13.
Hajiamini, Z., Masoud, S. N., Ebadi, A., Mahboubh, A., &Matin, A. A. (2012). Comparing the Effects of Ice Massage and Acupressure on Labor Pain Reduction. Complementary Therapies In Clinical Practice, 18(3), 169-172. doi:10.1016/ j.ctcp.2012.05.003
Hongranai, S. (2012). Intrapartum Nursing Care: The Evidence Based-Practice. Bangkok: Danex-Inter Corporation. (in Thai)
Kongkanoi, K., & Sirikhan, S. (2012). In Dhewan Thaneerat (Editor), Yoga for Pregnant Women. Bangkok: End Design. (in Thai)
Lawrence, A., Levis, G. J., & Styles, C. (2013). Maternal Positions and Mobility During First Stage Labor. Cochrane Database of Systemic Reviews, 20(8).
Lowdermilk, D. L. (2010). Labor and Birth Process. In K.R. Alden (Editor), Maternity Nursing (8thed., pp.265-283). Canada: Mosby Elsevie.
Panichkul, P. (2012). Pain Relief During Labor Pain. In Worapong Phupong (Editor), Care of Common Problems in Obstetrics. Bangkok: The Royal College of Obstetricians of Thailand. (in Thai)
Phumdoung, S. (2012) Obstetrics (Intrapatum). Songkhla: Allied Press (in Thai)
Polit, D. F., & Beck, C. T. (2012). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. (9thed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams and Wilkins.
Ritthiruang, N., Supprasri, P., & Siriarunrat, S. (2017). Effects of Empowerment Program on Labor Pain Coping and Women’s Perception of Childbirth Experience. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 48-56. (in Thai)
Sansiriphun, N., & Parisunyakul, S. (2015). Intra-Partum Care: Concept to Practice. Chiangmai: Krongchang Printing Ltd. (in Thai)
Sauls, D. J. (2010). Promoting a Positive Childbirth Experience for Adolescents. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing, 39(6), 703-712.
Somsap, Y. (2013). Basic Knowledge of Childbirth. In Yaowares Somsap (Editor), Midwifery 1. (3rded., P.17-50). Songkhla: Hadyai Best Sell and Service. (in Thai)
Sontao, S., & Pattarajinda, M. (2013). Effect of Upright Position by Leaning Forward with Birth Ball and Semi Sitting 45 Degree on Duration of Labor in Active Phase. Journal of Nursing Science and Health, 36(4), 108-114. (in Thai)
Sun, Y. C., Hung, Y. C., Chang, Y., & Kuo, S. C. (2010). Effects of a Prenatal Yoga Program on the Discomforts of Pregnancy and Maternal Childbirth Self-Efficacy in Taiwan. Midwifery, 26(6), e31-e36.
Tongsong, T. (2012). Physiology of Childbirth. In Theera Tongsong (Editor), Obstetrics. (5thed., P.111-134). Bangkok: Luksameerung. (in Thai)
Walsh, D. (2012). Carein First Stage of Labor. In S. Macdonald & J. Magill-Cuerden (Eds.), Mayes' Midwifery. (4thed., pp. 483-508). Edinburgh: BailliereTindall Elsevier.
Wanichpongphan, P., Rasmeechareon, K., & Lertbhanpong, T. (2017). Obstetrics. Department of Obstetrics-Gynecology. Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University: Bangkok. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้