ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, แนวคิดเชิงนิเวศวิทยาสังคมบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่จักรยานยนต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดเชิงนิเวศวิทยาสังคม (Social Ecological Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 161 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.54 ถึง 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านพฤติกรรมเสี่ยงระดับดี ร้อยละ 62.73 ทัศนคติการขับขี่อย่างปลอดภัยระดับดี ร้อยละ 68.95 และมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 82.61 ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์ ทัศนคติเกี่ยวกับการขับขี่รถจักยานยนต์ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) แต่ตัวแปร เพศ อายุ ชั้นที่ศึกษา รายได้ที่ได้รับต่อเดือน ประสบการณ์การขับขี่รถจักรยานยนต์ ประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และการสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05)
หน่วยงานสาธารณสุขและสถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อสร้างทัศนคติการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ตลอดจนให้บุคคลที่ใกล้ชิดกับนักเรียนคอยแนะนำ ตักเตือนเกี่ยวกับการขับขี่ที่ปลอดภัย เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงจากการขับขี่จักรยานยนต์และช่วยป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักเรียน
References
Best, J., W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.
Boonprasom, Ch., & Pechphume, J. (2015). Factors Associated to Accident Prevention Behavior of Motorcycle Driving among High School Students Grade 1 to 6 in Pathumthong Tutor Academy, Phitsanuloke Province. Journal of Nursing and Health, 11(1), 154-164. (in Thai)
Boonruksa, P., Musikapong, P., Mathurachon, T., & Siwapornrak, R. (2012). Factors Associated to Motorcycle Driving Accident among Students of Suranaree University of Technology. Department of Occupational Health and Safety, Institution of Medical Studies, of Suranaree University of Technology. (in Thai)
Cheunbal, N., Visutthisiri, T., & Bunharnsuppawat, P. (2013). A Study of Factors Associated to Health Behavior among Motorcycle Taxi Drivers in Bang Khen, Bangkok. Nonthaburi: Office of Disease Control 1, The Ministry of Public Health, Nonthaburi. (in Thai)
Choohiranwat, N. (2012). Factors Related to the Compliance of Traffic Law Driving Behaviors of Motorcyclists in Nakhon Ratchasima Metropolitan. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master of Engineer Degree in Civil Engineer, Suranaree University of Technology. (in Thai)
Ditsuwan, V., Veerman, L. J., Barendregt, J. J., Bertram, M., & Vos, T. (2011). The National Burden of Road Traffic Injuries in Thailand. Population Health Metrics, 9(1), 2.
Duangchak Na Ayuddhaya, Kh., & Pakdeejit, R. (2019). Behaviors Regarding Motorcycle Safe under The Law of Preschool Children’s Parents, Hua Hin Municipality Prachuap Khiri Khan Province. Journal of Police Nursing, 11(1), 163-171. (in Thai)
Golden, S. D., & Earp, J. A. L. (2012). Social Ecological Approaches to Individuals and Their Contexts: Twenty Years of Health Education & Behavior Health Promotion Interventions. Health Education & Behavior, 39(3), 364–372.
Igarashi, H., Levenson, M. R., & Aldwin, C. M. (2018). The Development of Wisdom: A Social Ecological Approach. The Journals of Gerontology: Series B, 73(8), 1350–1358.
Jitpisan, J., Kaewpan, W., & Satitwipavee, S. (2014). Factors Affecting Work Accident Prevention Behaviors among Motorcycle Taxi Drivers in Bangkok Metropolitan. Journal of Public Health Nursing, 28(3), 84-98. (in Thai)
Khengwa, K. (2010). The Study of Safety in Motorcycle Driving Behavior among Students of Rajabhat Phetchaburi University. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master of Education Degree in Physical Education, Rajabhat Phetchaburi University. (in Thai)
Krejcie, R. V., & Daryle, W. (2015). Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Actives. Journal of Education and Psychological Measurement. (Accessed on 13th August 2018)
Rattanamart, W. (2009). Factors Related to the Compliance of Traffic Law Driving Behaviors of Motorcycles among Labor Group in the Danchumphol Health Promoting Hospital Catchment Area, Borai District, Trat Province. Trat Province. (in Thai)
Sallis, J. F., Owen, N., & Fisher, E. (2015). Ecological Models of Health Behavior. Health Behavior: Theory, Research, and Practice, 5, 43–64.
Sam-Angsri, N., Assanangkornchai, S., Pattanasattayawong, U., & Muekthong, A. (2011). Health-risk Behaviors among High-School Students in Southern Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand, 93(9), 1075.
Temrungsie, W., Raksuntron, W., Namee, N., Chayanan, S., & Witchayangkoon, B. (2015). AHP-Based Prioritization on Road Accidents Factors: A Case Study of Thailand. International Transaction Journal of Engineering, Management, Applied Sciences & Technologies, 6, 135–144.
Yingratanasuk, T., Sereekhajornkijcharoen, P., & Yenjai, P. (2013). Factors Predicting Road Safety Behavior among Personnel and Students of Burapha University. Journal of Health Science, 22(6), 937-943. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้