การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 6-12 ปี ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีราภรณ์ พนาวัลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อังสนา บุญธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรนุช ภาชื่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชนพงษ์ โรจนวรฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วมในเด็กอายุ 6-12 ปี ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ประเมินผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วมในเด็กอายุ 6-12 ปี ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครูอนามัย นักเรียน ทันตบุคลากร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การประชุมกลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) ขั้นประเมินผลลัพธ์ ศึกษาในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 263 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบทักษะการปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และ 2) แบบบันทึกปริมาณคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วมในเด็กอายุ 6 -12 ปี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมาย 2) การวางแผนดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 3) การลงมือปฏิบัติตามแผนและการกำกับติดตาม และ 4) การประเมินผลการดำเนินงาน

2. ภายหลังการดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วม พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปากที่สูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และมีปริมาณคราบจุลินทรีย์ในช่องปากลดลงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

ดังนั้น เพื่อความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก  พื้นที่จึงควรใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 6 – 12 ปี อย่างต่อเนื่อง

References

Bloom, Benjamin, S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Bureau of Dental Health. (2018). The 8th National Oral Health Survey Thailand 2017. Nonthaburi: Samcharoen Panich Co., Ltd. (in Thai)

Chanthavanich, S. (2006). Data Analysis in Qualitative Research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing. (in Thai)

O’Leary, T. J., Drake, R. B., & Naylor, J. E. (1972). The Plaque Control Record. Journal of Periodontology, 43, 38.

Pender, N. J., Murdaugh, C., & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 6th ed. Boston: Pearson.

Senanurit, A., Pholpradubpetch, P., Dueanraerum, A., Sriwiset, S., Senanurit, S., & Nuncho, S. (2014). A Model for Dental Health Promotion in Schools through Collaborative Networking in Tum Yai Subdistrict, Khumuang District, Burirum, 2011 – 2012. Journal of Health Science, 23(4), 609-618. (in Thai)

Sukarawetsiri, P., Turnbull, N., & Selavattanakul, S. (2014). The Model of Oral Health Promotion for 6th Year Student at Primary School in Muang Municipality, Muang District, Surin Province, Thailand. Research and Development Health System Journal, 7(1), 236-44. (In Thai)

Suphanburi Public Health Office. (2014). Summary of Operation Results According to the Official Inspection Guidelines and Supervise Normal Cases at the Ministry Level Ministry of Public Health Round 3. (In Thai)

Tetui, M., Coe, A. B., Hurtig, A. K., Bennett, S., Kiwanuka, S. N., George, A., & Kiracho, E. E. (2017). A Participatory Action Research Approach to Strengthening Health Managers’ Capacity at District Level in Eastern Uganda. Health Research Policy and Systems, 15(2), 39-53.

Trimongkolkul, P., & Chattraporn, S. (2002). Research Design. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Yueran, S., & Waratwichit, C. (2018). Participatory Action Research and the Success of Policy Change in Health System. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 288-300. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29