การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พิศดี มินศิริ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • อัจฉรา สุขสำราญ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, การรับรู้ความสามารถตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน จำนวน 324 ราย โดยใช้วิธีการกำหนดโควตากลุ่มตัวอย่างแต่ละอำเภอเท่า ๆ กัน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดการรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรับประทานอาหาร ด้านการรับประทานยา ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด และด้านความรู้เรื่องโรค เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ด้วยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

 ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดเพชรบุรี มีการรับรู้ความสามารถตนเองในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M=6.58, SD=1.26) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับมาก (M=7.45, SD=1.41) รายด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง (M=5.59, SD=2.01)

ดังนั้น บุคลากรทางสาธารณสุขควรเน้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายมากขึ้น โดยสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการกระตุ้นหรือมีกิจกรรมการออกกำลังกายร่วมกันตามความสนใจของผู้สูงอายุ และควรศึกษาปัจจัยที่ช่วยหรือสนับสนุนให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายมากขึ้น

References

Ardkhitkarn, S. (2012). Self-Management Behaviors and Predicting Factors in Elders with End Stage Renal Disease Undergoing Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis. Master of Nursing Science (Gerontological Nursing) Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Bandura, A. (1986). Social Foundation of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W. H. Freeman.

Booranaklas, W. (2017). The Correlation Between the Self-Care Behaviors, Family Relationship, and Happiness the Elderly at the Community Saimai Destrict in Bangkok Metropolitan. Journal of The Police Nurse, 9(2), 24-32. (in Thai)

Bureau of Non Communicate Disease, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2019). World Heart Campaign Message. Retrieved form www.thaincd.com.

Curtin, R. B., Walters, B. A. J., Schatell, D., Pennell, P., Wise, M., & Klicko, K. (2008). Self-Efficacy and Self-Management Behaviors in Patients with Chronic Kidney Disease, 15(2), 191-205.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2018). Situation of The Thai Elderly 2017. Deuan Tula Printing House. Bangkok.

Gadudom, P., Apinyalungkon, K., Janjaroen, K., & wae, N. (2018). Family Roles to Increase Quality of Life of Older Persons in a Changing Situation. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 300-310. (in Thai)

House, J. S. (1981). Work Stress and Social Support. New Jersey: Prentice-Hall. Jersey: Printic-Hall.

Muenya, S. (2017). Effectiveness of Family Supports on Exercise Behaviors of Elderly. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(1), 74-81. (in Thai)

Namarak, R., Watcharasin, C., Deoisres, W. (2018). Family Factors Inuencing Exercise and Eating Behavior among Elderly with Overweight in Muang District, Nakhon Prathom Province. Nursing Journal, 45(3), 46-57. (in Thai)

Phalasuek, R., & Thanomchayathawatch, B. (2017). A Family Model for Older People Care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 135-149. (in Thai)

Prakobchai, S., Kusuma Na Ayuthya, S., Wattanakitkrileart, D., & Buranakitjaroen, P. (2014). Factors Influencing Medication-Taking Behavior of Hypertensive Patients. Journal of Nursing Science, 32(4), 43-51. (in Thai)

Rusawang, S. (2017). Factor Related to Polypharmacy Medication Adherence among Older Persons with Chronic Illness. Journal of Nursing, Siam University, 18(35), 6-23. (in Thai)

Sukanun, T, Subprasert, J., Jariyasilp, S., & Vongsala, A. (2014). Factors Affecting Exercise Behaviors of the Elderly People in Bansuan Municipality, chonburi. The Public Health Journal of Burapha University, 9(2), 66-75. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-08