การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลวิธีการเผชิญปัญหา สำหรับนักศึกษาพยาบาลรับใหม่

ผู้แต่ง

  • ภาวดี เหมทานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • เบญจวรรณ ละหุการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • อุษา จันทร์แย้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • นิศารัตน์ นรสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • นิสากร จันทวี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ดวงใจ พรหมพยัคฆ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
  • ดลปภัฏ ทรงเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การมองโลกในแง่ดี, การจัดการกับอารมณ์, ความเครียด

บทคัดย่อ

งานวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเผชิญปัญหาในนักศึกษาพยาบาลรับใหม่ และเพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลวิธีการเผชิญปัญหาในนักศึกษาพยาบาลรับใหม่ วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษากลวิธีการเผชิญปัญหา ประชากรคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์รับใหม่ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกลวิธีการเผชิญปัญหา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .851 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลวิธีการเผชิญปัญหาสำหรับนักศึกษาพยาบาลรับใหม่ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

ระยะที่ 1 กลวิธีการเผชิญปัญหาในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี (µ=2.12, σ=.22) โดยด้านการเผชิญปัญหาด้านการใช้ยา แอลกอฮอล์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ=2.92, σ=.28)

ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อเสริมสร้างกลวิธีการเผชิญปัญหา ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธภาพและการศึกษาเหตุการณ์ในชีวิต 2) ทักษะการตัดสินใจ  3) การมองโลกในแง่ดี 4) ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ 5) การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และผลจากการนำโปรแกรมไปทดลองใช้กับนักศึกษา 5 คน พบว่า กิจกรรมมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ได้จริง ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตนเองที่จะเปิดเผยปัญหาของตนเอง และนักศึกษามีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ควรให้ความสำคัญของความแตกต่างบุคคลอย่างมาก และไม่มีการตัดสิน เปิดใจกว้างในการยอมรับ เพราะนักศึกษาพยาบาลรับใหม่ล้วนมีความหลากหลายทั้งทางสังคม ความเชื่อ วัฒนธรรม

References

Aitken, A., & Crawford, L. (2007). Coping with Stress: Dispositional Coping Strategies of Project Managers. International Journal of Project Management, 25, 666-673

Corey, G. (2000). Theory and Practice of Group Counseling. Brooks Cole: Belmont.

Corey, G. (2009). Theory and Practice of Counseling and Psychotherapy. (8th ed.). California: Thomson Brook/Cole Inc.
Deasy, C., Coughlan, B., Pironom, J., Jourdan, D., & McNamara, P. M. (2014). Psychological Distress and Lifestyle of Students: Implications for Health Promotion. Health Promotion International, 30(1), 77-87. doi:10.1093/heapro/dau086

Ellis, A. (1994). Reason and Emotion in Psychotherapy: Revised and Updated. New York: Birch Lane Press.

Jalowice, A. (1988). Confirmatory Factor Analysis of the Jalowice Coping Scale. In C. F. Waltz & O. L. Strickland (Eds.), Measurement of Nursing Outcomes (pp. 287-307). New York Springer.

Kaewmart, N. (2013). Nursing Students with Depression. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 21(3), 14-23. (in Thai)

Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Springer Publishing Company.

Noorbakhsh, N., Besharata, M. A., & Zarei, B. J. (2010). Emotional Intelligence and Coping Styles with Stress. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 5, 818-822.

Por, J., Barriball, L., Fitzpatrick, J., & Roberts, J. (2011). Emotional Intelligence: Its Relationship to Stress, Coping, Well-Being and Professional Performance in Nursing Students. Nurse Education Today, 31(1), 855-860. Retrieved March 2, 2019, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0260691711000086?

Smith, C., & Carlson, B. E. (1997). Stress, Coping, and Resilience in Children and Youth. Social Service Review, 71: 231-256.

Thomas, J., Jack, B. A., & Jinks, A. M. (2012). Resilience to Care: A Systematic Review and Meta-Synthesis of the Qualitative Literature Concerning the Experiences of Student Nurses in Adult Hospital Settings in the UK. Nurse Education Today, 32: 657-664. doi:10.1016/j.nedt.2011.09.005

Trotzer, J. P. (1999). The Counselor and the Group: Integrating Theory, Training, and Practice. 3rd ed. Philadephia: Taylor & Francis.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-11-21