โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรามาธิราช
  • วัลภา สบายยิ่ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรามาธิราช
  • นิรนาท แสนสา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรามาธิราช
  • จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

คำสำคัญ:

โมเดลเชิงสาเหตุ, องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุ, องค์ประกอบของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล และ 2) องค์ประกอบของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนทางการพยาบาล อาจารย์พยาบาล พยาบาลวิชาชีพ นักศึกษาพยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย ส่วนระยะที่ 2 การหาคุณภาพเครื่องมือและทดสอบโมเดล มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 จากการสุ่มวิทยาลัยเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ภาคละ 1 แห่ง รวม 5 แห่ง โดยสุ่มวิทยาลัยเพื่อเก็บข้อมูล 2 รอบ จำนวน 530 ,519 คน  ตามลำดับ  เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับถามปัจจัยเชิงสาเหตุและพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าระหว่าง .67-1.00 และ 2) แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรและพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล  เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ หาค่า   สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคระหว่าง .79-.96 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ 1) สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) สถิติโมเดลสมการโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนการสอน 2) ผู้สอน 3) ผู้เรียน 4) หลักสูตร 5) การเป็นแบบอย่าง

2. องค์ประกอบของพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การดูแลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลแบบองค์รวม 2) การมีสัมพันธภาพที่ดีเพื่อสร้างความไว้วางใจ 3) การประยุกต์ใช้ความรู้ในการดูแล 4) ไวต่อการประเมิน และตอบสนองความต้องการ

3. ปัจจัยด้านผู้เรียนมีอิทธิพลทางตรง และรวมต่อพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล มีค่า 0.82 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

Bakar, A., Nursalam, N., Adriani, M., Kusnanto, K., Qomariah, S. N., Hidayati, L., et al. (2017). Nurses’ Spirituality Improves Caring Behavior. International Journal of Evaluation and Research in Education, 6(1), 23–30.

Bevis, E. O., & Watson, J. (1989). Toward a Caring Curriculum: A New Pedagogy for Nursing. New York, N Y: National League for Nursing.

Bhanthumnavin, D. (1998). Principle and Methods of Literature Review for Research Excellence in Psycho-Behavioral Science. Thai Dental Nurse Journal, 10(2), 205–108. (in Thai).

Boromarajonani College of Nursing Nakhon. (2017). Bachelor of Nursing Science Program (Course Update 2017). Nakhon Ratchasima: The College. (in Thai).

Daodee, S. (2008). Using the Caring Theory for Improving the Quality of Nursing Practice. Journal of Nursing Quality, 1(Inaugural Edition), 26–46.

De Guzman, A. B., Jimenez, B. C. B., Jocson, K. P., Junio, A. R., Junio, D. E., Jurado, J. B. N., & Justiniano, A. B. F. (2013). Filipino Nursing Students’ Behavioral Intentions Toward Geriatric Care: A Structural Equation Model (SEM). Educational Gerontology, 39(3), 138–154.

Hair, J. F., Black, B., Babin, B., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate Aata Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Ingraham, K. C., Davidson, S. J., & Yonge, O. (2018). Student-Faculty Relationships and its Impact on Academic Outcomes. Nurse Education Today, 71, 17–21.

Khaemmanee, T. (2011). Teaching Science: Knowledge for Effective Learning Process Management. (14th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

Khunkitti, W., & Nusri-un, N. (2016). Attitudes of Physicians and Nurses Towards the Risk Factors of Complaint: Study in the North-Eastern Region of Thailand. Srinagarind Medical Journal, 31(4), 231–236. (in Thai).

Kongvattananon, P. (2013). Using Mixed Method for Creditability in Health Science Research. Thai Science and Technology Journal, 21(7 (Suppl.), 648–657. (in Thai).

Kosolchuenvijit. (2008). A development of the Instructional Model Through Integrating Buddhist Concepts to Nurture Caring Behaviors in Nursing Students. Ph. D. Dissertation, Curriculum Research and Development, Srinakharinwirot University. (in Thai).

Leaungsomnapa, Y., Timsuwan, B., & Promproh, S. (2008). Actor Analysis of Caring Behavior among Nursing Insructure. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 19(2), 1–16. (in Thai)

Leininger, M. M. (1988). Leininger’s Theory of Nursing: Cultural Care Diversity and Universality. Nursing Science Quarterly, 1(4), 152–160.

Luengarun, P., Wannasonted, S., & Chitviboon, A. (2012). 4 The Development of Nursing Students’ Caring Behavior Scales. Journal of Nursing and Education, 5(2), 90–103.

Mayeroff, M. (1971). On Caring. New York: Harper & Row.

Pett, M. A., Lackey, N. R., & Sullivan, J. J. (2003). Making Sense of Factor Analysis: The Use of Factor Analysis for Instrument Development in Health Care Research. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.

Praboromarajchanok Institute. (2015). Graduate Identity of Praboromarajchanok Institute or Workforce Development, Identity of Praboromarajchanok institute or Workforce Development, Graduate identity of Praboromarajchanok Institute or Workforce Development. Retrieved from https://bit.ly/2FX2D31 (in Thai).

Roach, M. S. (Ed.). (1997). Caring from the Heart: The Convergence of Caring and Spirituality. New York, NY: Paulist Press.

Sapmee, W. (2011). Theory of Consulting Service. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai).

Speziale, H. S., & Carpenter, D. R. (2007). Qualitative Research in Nursing: Advancing the Humanistic Imperative. (4th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins.

Suebwonglee, C., Sujiva, S., & Wongwanich, S. (2011). Development of a Nursing Caring Behavior Assessment Instrument Using the Cognitive Interview Technique. SDU Research Journal Humanities and Social Sciences, 7(2), 127–142. (in Thai).

Swanson, K. M. (1993). Nursing as Informed Caring for the Well-Being of Others. Image The Journal of Nursing Scholarship, 25(4), 352–357.

Watson, J. (1985). Nursing: The Philosophy and Science of Caring. Boulder: Colorado Associated University Press.

Watson, J. (1999). Nursing: Human Science and Human Care: A Theory of Nursing. Sudbury, MA: Jones and Bartlett Publishers.

Watson, J. (2008). Nursing: The Philosophy and Science of Caring. (Rev. ed.). Boulder, CO: University Press of Colorado.

Yahakorn, S. (2010). Applying curriculum. In School of Education, Sukhothai Thammathirat Open University” Seminar in Curriculum Development and Instruction Methodology, Unit 6-10. Nonthaburi: The University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-03