ผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองต่อระดับความรู้โรคหลอดเลือดสมองของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบระดับความรู้โรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบันฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาทจำนวน 103 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 51 คนและกลุ่มควบคุม 52 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความรู้โรคหลอดเลือดสมอง โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือทั้งหมดผ่านการตรวจสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนและทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มทดลองสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้ตามปกติ แบบสอบถามความรู้โรคหลอดเลือดสมองคัดเลือกมาจากคลังข้อสอบของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท ทดสอบค่าความความเที่ยงได้ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
หลังได้รับโปรแกรมฯกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้โรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < 0.001)
โปรแกรมนี้ใช้เป็นสื่อการสอนเรื่องโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเพิ่มระดับความรู้และความเข้าใจให้นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ นอกจากนี้ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยนักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลองเพื่อทบทวนความรู้ที่เป็นพื้นฐานในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบนหอผู้ป่วยต่อไป
References
Alcalde-Rabanal, J. E., Orozco-Nunez, E., Espinosa-Henao, O. E., Arredindo-Lopez, A., & Alcaide, L. B. (2018). The Complex Scenario of Obesity, Diabetes and Hypertension in the Area of Influence of Primary Healthcare Facilities in Mexico, 13(1), 1-17.
Al-Ghareeb, A. Z., & Cooper, S. J. (2016). Barriers and Enablers to the Use of High-Fidelity Patient Simulation Manikins in Nurse Education: an Integrative Review. Nurse Education Today, 36, 281-286.
Cant, R. P., & Cooper, S. J. (2010). Simulation-Based Learning in Nurse Education: Systematic Review. Journal of Advanced Nursing, 66(1), 3-15. Depending on Fidelity: a Meta-Analysis. BMC Medical Education, 16(1), 1-8.
Doolen, J., Mariani, B., Atz, T., Horsley, T. L., O’ Rourke, J., McAfee, K., et al. (2016). High-Fidelity Simulation in Undergraduate Nursing Education: A Review of Simulation Reviews. Clinical Simulation in Nursing, 12(7), 290-302.
Fisher, D., & King, L. (2013). An Integrative Literature Review on Preparing Nursing Students Through Simulation to Recognize and Respond to the Deteriorating Patient. Journal of Advanced Nursing, 69(11), 2375-2388.
Kim, J., Park, J-H., & Shin, S. (2016). Effectiveness of Simulation-Based Nursing Education.
Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2005). Learning Styles and Learning Spaces: Enhancing Experiential Learning in Higher Education. Academy of Management Learning and Education, 4(2), 193–212.
Ministry of Public Health. (2018). Top Ten Causes of Death in Thailand 2018. Retrieved November 18, 2018 From https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php? source=formated/opd10_sex.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=8881445af732eb166fa2470ba5046956. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. (2018). Announcement and Regulations Related to Teaching Management of Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development 2017 and 2018. Retrieved November 18, 2018 from http://www.bcnu.ac.th/bcnu/attachments/article/682/0305256003.PDF. (in Thai)
Purba, I. E., Sinaga, J., Siregar, R., Sembiring, A., & Sembiring, R. (2015). Learning Preferences of Reviews. Clinical Simulation in Nursing, 12, 290-302.
Richard, S., Mione, G., Varoqui, C., Vezaind, A., Brunner, A, Bracard, S., et al. (2016). Simulation Training for Emergency Teams to Manage Acute Ischemic Stroke by Telemedicine. Medicine, 95(24), 1-8.
Sinthuchai, S., & Ubolwan, K. (2017). Fidelity Simulation Learning: Implementation to Learning and Teaching Management. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(1), 29-38.
Suwannakeeree, W., Jullmusi, O., & Tangkawanich, T. (2016). Simulation-based Learning Management for Nursing Student. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 28(2), 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้