การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • จิรพงศ์ วสุวิภา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวทุ่ง

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อประเมินผลรูปแบบการใช้โปรแกรมฯ โดยเปรียบเทียบการรับรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน และเปรียบเทียบความชุกของลูกน้ำยุงลาย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ผู้ร่วมวิจัยในการพัฒนารูปแบบการใช้โปรแกรมฯ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 70 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลรูปแบบการใช้โปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือน 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแนวทางการสนทนากลุ่มและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และใช้สถิติ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

รูปแบบการใช้โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 1) อบรมพัฒนาศักยภาพทีมนำครือข่ายสุขภาพชุมชน 2) ประกวดคุ้มปลอดลูกน้ำยุงลาย 3) อบรม อสม.จิ๋วพิชิตลูกน้ำยุงลาย 4) กำหนดมาตรการทางสังคมประจำหมู่บ้าน และ 5) การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เมื่อประเมินผลรูปแบบการใช้โปรแกรมฯ พบว่าทั้งคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลังการใช้โปรแกรมฯสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index:HI) ก่อนดำเนินการค่า HI เท่ากับ 62 หลังดำเนินการค่า HI เท่ากับ 2 (ต่ำกว่าเกณฑ์)

ดังนั้น ควรนำรูปแบบการใช้โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน ไปประยุกต์ใช้กับตำบลอื่น ๆ ในอำเภอพล เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้น ๆ

References

Ammodt, M. G., & Raynes, B. L. (2001). Human Relation in Business. U.S.A.: Wadsworth Thomson.

Becker, M. H., (1974). The Health Belief Model and Personal Health Behavior. New Jersey: Charles B. Slack.

Boonyiam, K. (2010). The Resutls of Control and Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever in Koonhai District, Sisaket Province. Master's Degree in Public Health, Mahasarakham University. (in Thai)

Bureau of Epidemiology. (2015). Dengue, Guidelines for Diagnosis, Treatment, Prevention and Control. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

Chareonpan, J. (2010). Community Public Health Management. 10th ed. Mahasarakham. Faculty of Public Health, Mahasarakham University. (in Thai)

Jirawatkul, A. (2009). Statistics for Health Science Research. Bangkok: Wittayapat. (in Thai)

Kemmis, S., McTaggart, R., & Retallick, J. (2004). The Action Research Planner. 2nd. Karachi: Aga Khan University, Institute for Educational Development.

Khunluek, k. (2016). The Participation of the Development of District Health System Operation among Health Personnel in At Samat District Health Learning Management Network, Roi Et Province. Thai Dental Nurse Journal, 27(1), 77-91. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parson, M. A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. 4th ed. Upper Saddle River, N.J.: Prentia Hall. Retrieved January 14, 2017 from http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/PD.pdf.

Phol Hospital. (2016). Annual Report 2015. Phol Hospital, Khon Kaen Provience.

Polpong, M., Nima, S., & Petchchuay, P. (2017). Development of a Participative Model for Prevention and Control of Dengue Hemorrhagic Fever in Koksak Sub District, Bangkeaw District, Phatthalung Province.The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(Special), 243-259.

Ragrathok, S. (2010). Development of Public Participation Model in Prevention of Dengue Fever in Nongyai Health Center Area, Huaibong Sub-District, Dan khun Thot District, Nakhonratchasima Province. Master of Public Health Program in Community Health Development. Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Sanguanchat, P., Pansila, V., & Louhprasert, P. (2008). The Results of Control and Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever in Napraland Sub-District, Chalermprakiat District, Saraburi Province. Journal of Health Education, 31(1), 81-110.

Seedaengkum, U. (2010). The Resutls of Application of Motivation Theory to Prevent Diseases Associated with Social Support Theory for Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever in Lamplaiymas District, Bureerum Province. Master's Degree in Healthy Management Mahasarakham University.

Wasi, P. (1996). Strategies for Economic, Social and Moral Strength. Bangkok: Moh-chao-Ban Publishing House. (in Thai)

Wongchansri, S. (2008). The Resutls of Control and Prevention of Dengue Hemorrhagic Fever in Thatpanom District, Nakornphanom Province. Master's Degree in Healthy Management. Mahasarakham University. (in Thai)

World Health Organization. (2009). Dengue Guidelines for Diagnosis, Treatment, Prevention and Control. Geneva, Switzerland.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-08