ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ชนก จามพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • เกียรติกำจร กุศล สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • จิราภรณ์ สรรพวีรวงค์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การสูบบุหรี่, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นพระสงฆ์ที่จำพรรษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 244 รูป ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ตามแนวคิด PRECEDE Framework โดยแบบสอบถามผ่านการหาค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของครอนบาร์ค ได้ความเชื่อมั่นเฉลี่ย เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการทดสอบ Chi-Square และ Odd Ratio ผลการวิจัยพบว่า

1.พระสงฆ์ จำนวน 244 รูป มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน จำนวน 131 รูป ร้อยละ 53.68 โดยอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่ 17.90 (SD=4.37) ปี ส่วนใหญ่เริ่มสูบบุหรี่ก่อนบรรพชา ร้อยละ 93.13 และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่ทุกวัน ร้อยละ 85.50 กลุ่มพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการสูบบุหรี่สูงกว่ากลุ่มพระสงฆ์ที่ไม่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คิดเป็น 1.8 เท่า และกลุ่มพระสงฆ์ที่ไม่สูบบุหรี่มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการรับรู้กฎและข้อห้ามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ สูงกว่ากลุ่มพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คิดเป็น 2.6 และ 1.6 ตามลำดับ

2. ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ของกลุ่มพระสงฆ์ที่สูบบุหรี่พบว่า มีความสัมพันธ์กับอายุที่เริ่มสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับเหตุผลการสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาการเริ่มสูบบุหรี่กับการบรรพชา เหตุผลการสูบบุหรี่ และการสูบบุหรี่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีส่วนสนับสนุนต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์ ดังนั้นพยาบาลเวชปฏิบัติควรออกแบบโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองให้แก่พระสงฆ์ ในการลด ละเลิก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ เพื่อตอบสนองนโยบายวัดปลอดบุหรี่อย่างยั่งยืน

References

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington, Virginia: American Pschiatric Association.

Benowitz, N. L. (2008). Neurobiology of Nicotine Addiction: Implications for Smoking Cessation Treatment. The American Journal of Medicine, 183(4), 51-64.

Chaveepojnkamjorn, W., & Pichainarong, N. (2005). Cigarette Smoking among Thai Buddhist Monks, Central and Eastern Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, 36(2), 505-511.

Chronic Obstructive Lung Disease. (2010). Global Strategy for The Diagnosis, Management and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Update 2015. Retrieve from http: //www.goldcopd.org

Colby, S. M., Tiffany, S. T., Shiffman, S., & Niaura, R. S. (2000). Measuring Nicotine Dependence among Youth: A Review of Available Approaches and Instruments. Drug and Alcohol Dependence, 1(59), S23-S39.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2014). Public Health Statistics A. D. 2014. Bangkok: Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. (in Thai)

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York: Quebecor World Fairfield.

Khaunha, K., Homsin, P., & Srisuriyawet, R. (2010). Factors Related to Smoking Behavior among Monks in Rayong Province. Journal of Public Health Nursing, 24(3), 68-76. (in Thai)

Nammuang, S. (2010). Factors Relating to Cigarette Smoking Behavior of Sick Monks and Novices Utilizing Health Services in the Priest Hospital. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master of Science Degree in Health Education Faculty of Education, Kasetsart University. (in Thai)

Kungskulniti, N., Charoenca, N., Kengganpanich, T., Kusolwisitkul, W., Pichainarong, N., Kerdmongkol, P., et al. (2012). Smoking Prevalence among Monks in Thailand. Evaluation & the Health Profession, 35(2), 305-322.

Pronvarin, J., Kenggranpanich, M., Kenggranpanich, T., & Benjakul, S. (2012). Predicting Factors to Smoking Behaviour Among Workers In Thailand Tobacco Monopoly (TTM.). Journal of Health Education, 35(122), 16-20. (in Thai)

Rakkhantho, S., Kongkhuntod, A., & Karnchana, S. (2008). Self - Health Care Behavior of Buddhist Monks in Upper South. Surat Thani: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (in Thai)

Rerkluenrit, J., Ngensod, M., Wihok, K., Dachadilok, N., Jaikordee, S., Karnchen, A. et a. (2010). Factors Predicting Health-Promoting Behaviors among Buddhist Monks in Nakhonnayok Province, Thailand. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 5(4), 333-343. (in Thai)

Smith, M., & Umenai, T. (2000). Smoking among Buddhist Monks in Phnom Penh, Cambodia. Tobacco Control 2000, 9, 111–113.

Srisatidnarakul, B. (2010). The Methodology in Nursing Research (5th ed.). Bangkok: You and I Intetrmedia. (in Thai)

Sychareun, V., Alongkon, P., Visanou, H., Sing, M., & Tamja T. (2009). Smoking Prevalence Determinants Knowledge Attitudes and Habits among Buddhist Monks in Lao PDR. BMC Research Notes, 2, 100-108.

Thongrungreung, A., Rattanamalawong, S., Phansaeng, K., & Teangkamol, C. (2015). Factors Affecting Smoking Behavior in Police Officers: Case Study of Metropolitan Police Bureau. Journal of the Police Nurses, 7(2), 30-39. (in Thai)

World Health Organization. (2008). WHO Report on the Global Tobacco Epidemic, 2008: The MPOWER Package. Geneva: WHO. Retrieved from http://apps.who.int/iris/bitstream/ 10665/43818/ 1/9789241596282_eng.pdf

World Health Organization. (2010). Mental and Behavioural Disorders (F00-F99). In ICD-10 Version. Geneva: WHO. Retrieved from http://apps.who.int/classifications/icd10 /browse/2010/en#/V

Yamanae, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Zhang, H.-J., Han, P., Sun, S.-Y., Wang, L.-Y., Yan, B., Zhang, J.-H., et al. (2013). Attenuated Associations between Increasing Bmi and Unfavorable Lipid Profiles in Chinese Buddhist Vegetarians. Asia Pacific Journal of Clinical Nutrition, 22(2), 249-256. doi: 10.6133/apjcn.2013.22.2.07

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-21