ประสบการณ์: การเจรจาต่อรองและการจัดการความขัดแย้ง เพื่อลดความขัดแย้ง ในระบบการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การเจรจาต่อรอง, ความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, ระบบการให้บริการสุขภาพ, สาธารณสุขบทคัดย่อ
ความขัดแย้งของการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุข มีความสำคัญเป็นอย่างมากในประเทศไทย รัฐบาลได้เล็งเห็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีความประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้มีหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ระบบการให้บริการสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากประชาชนได้รับข่าวสารทางเทคโนโลยีจำนวนมาก และได้รับความรู้ในด้านสิทธิการรักษาพยาบาล หลายปีที่ผ่านมามีความขัดแย้งจำนวนมากมายก่อให้เกิดการฟ้องร้องทางการแพทย์ สูญเสียอวัยวะ การสูญเสียทรัพย์สิน และถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นภาวะที่มีความรุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้งมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วย, ครอบครัวของผู้ป่วย, โรงพยาบาล และภาพลักษณ์ขององค์กร ดังนั้นจึงได้นำเทคนิคการเจรจาต่อรองและการจัดการความขัดแย้ง เพื่อลดความขัดแย้งในระบบการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุขมาใช้ จึงนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการระงับเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงและผู้สูญเสียเมื่อเกิดความขัดแย้งของการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุขขึ้น การนำเสนอบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นถึงขั้นตอนการให้บริการเจรจาต่อรองเพื่อลดความขัดแย้งในระบบบริการด้านสุขภาพและสาธารณสุขซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
References
Center for Peace and Public Health Office. (2013). Peace of the Permanent Secretary for Public Health. Retrieved November 25, 2013 from http://www.facebook.com/peaceinhealthmoph/photos/pcd (in Thai)
Jungsatiensub, K. (2007). Peace-Health: Peace and Conflict Management in the Health System. Retrieved November 25,2015 from http://www.shi.or.th. (in Thai)
Prasertsri, S. (2006). Modern Management. Bangkok: Thammasarn. (in Thai)
Tonthirawong, B. (2009). Basic Training Negotiation Techniques In Medical and Public Health. Center for Peace in Public Health Office. (in Thai)
Visalo, P. (2003). The Foundations of Peace. Retrieved December 6, 2014 from http:// www.visalo.org. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้