ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า ต่อประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • วรรณรัตน์ จงเขตกิจ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิภา แซ่เซี้ย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จารุวรรณ มานะสุรการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการ, โปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า, ประสบการณ์อาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าต่อประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษา ณ หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้ โดยใช้กรอบแนวคิดการจัดการอาการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 48 ราย เป็นกลุ่มควบคุม 24 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลอง 24 ราย ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด โดยโปรแกรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินประสบการณ์กลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า 2) การจัดการอาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า และ 3) ประเมินผลลัพธ์การจัดการอาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า โดยประเมินประสบการณ์อาการด้านความถี่และความรุนแรง ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 21 วัน โดยโปรแกรมและแบบประเมินประสบการณ์อาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และแบบประเมินประสบการณ์อาการในกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้ามีค่าความเที่ยงแบบวัดซ้ำเท่ากับ .98  และค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติทีอิสระ และสถิติความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า

ค่าเฉลี่ยประสบการณ์อาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดหลังได้รับโปรแกรมด้านความถี่และด้านความรุนแรง ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ p=.001 ตามลำดับ)

ดังนั้น พยาบาลจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมการจัดการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้าไปใช้กับผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เพื่อลดประสบการณ์อาการกลุ่มอาการด้านทางเดินอาหารและอาการเหนื่อยล้า

Author Biographies

วรรณรัตน์ จงเขตกิจ, นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F151600%2F4&t=1556509913675?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556509913676?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556509913679

วิภา แซ่เซี้ย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F151600%2F4&t=1556509934060?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556509934060?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556509934061

จารุวรรณ มานะสุรการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=LOADED&custom1=www.tci-thaijo.org&custom2=%2Findex.php%2Fscnet%2Fworkflow%2Findex%2F151600%2F4&t=1556509972246?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=BEFORE_OPTOUT_REQ&t=1556509972246?mid=&wid=51675&sid=&tid=8383&rid=FINISHED&custom1=www.tci-thaijo.org&t=1556509972247

References

Suttiprapa, T., & Jitpanya, C. (2014). The Effect of Symptom Management Program on Postoperative Pain During Chair Rest in Open-Heart Surgery Patients Within the First 48 Hours Postoperative Day. Journai of The Police Nurse, 6(1), 1-11.

Kamphun, W., Wonghongkul, T., & Pinyokham, N. (2011). Effect of a Symptom Management Enhancement Program on Fatigue in Breast Cancer Patients Receiving Chemotherapy. Nursing Journal, 38(2), 1-17.

National Cancer Institute. (2014). Hospital-Based-Cancer Registry Annual Report 2555. Bangkok: Eastern.

Bureau of Policy and Strategy of the Ministry of Public Health. (2013). Summary Report of Illness B.E. 2556. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand.

Foythong, S., Harnirattisai, T., & Wattana, C. (2012). The Effects of a Symptom Management Program on Common Symptom Experiences in Breast Cancer Patients Receiving Adjuvant Chemotherapy. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 24(3), 107-119.

Prisutkul, A., Sukuntapan, M., Arundon, T., Dechaphunkul, A., & Pripetchkaew. (2013). Symptom Experiences, Symptom Management Strategies and Outcomes in Patients Under-Going Chemotherapy. Thai Cancer Journal, 33(3), 98-110.

Barsevick, A. M., Whitmer, K., Nail, M. L., Beck, L. S., & Dudley, N. W. (2006). Symptom Clusters Research: Conceptual, Design, Measurement, and Analysis Issues. The Journal of Pain and Symptom Management, 31(1), 85-95.

Bower, M., & Waxman, J. (Eds.). (2010). Lecture Notes: Oncology. Chichester: Wiley-Blackwell.

Cherwin, C.H. (2012). Gastrointestinal Symptom Representation in Cancer Symptom Cluster: A Synthesis of the Literature. Oncology Nursing Forum, 39(2), 157-165.

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., Humphreys, J., et al. (2001). Advancing the Science of Symptom Management. Journal of Advance Nursing, 33(5), 668-676.

Dodd, M., Miaskowski, C., & Paul, S.M. (2001). Symptom Cluster and Their Effect on the Functional Status of Patients with Cancer. Oncology Nursing Forum, 28(3), 465-470.

Kim, H. J., MaGuir, D. B., Tulman, L., & Barsevick, A. M. (2005). Symptom Cluster. Cancer Nursing, 28(3), 270-280.

Professional Nursing and Midwifery Revision of the Act B. E. 2540 (1997). The Government Gazette. Vol. 114, Vol. 75, December 23, 1997.

Robergs, A. R., & Keteyian, J. S. (2003). Fundamentals of Exercise Physiology: For Fitness, Performance, and Health. (2nd ed., pp. 79-205). New York: McGraw-Hill.

Suwisith, N., Hanucharurnkul, S., Dodd, M., Vorapongsathorn, T., Pongthavorakamol, K., & Asavametha, N. (2008). Symptom Cluster and Functional Status of Woman with Breast Cancer. Thai Journal of Nursing Research, 12(3), 153-165.

World Health Organization. (2014). Cancer Country Profiles. Retrieved from November 5, 2013, from http://www.who.int/cancer-profils/tha_en.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-29