การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ศิวพร สุนทรีวงศ์ สำนักงานเทศบาลนครตรัง
  • ประภาเพ็ญ สุวรรณ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุรีย์ จันทรโมลี มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • มยุนา ศรีสุภนันต์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

รูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 140 คน ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของศูนย์บริการสาธารณสุข 3 จำนวน 48 คน ระยะที่ 3 เพื่อประเมินผลปรับปรุงรูปแบบกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 278 คน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2559 - มีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบค่าไคสแควร์ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการปฏิบัติงานส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานไม่ส่งผล

2. รูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลนครตรังจังหวัดตรัง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล จำนวน 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน “รู้เขารู้เรา” กิจกรรมคู่บัดดี้ “เพื่อนช่วยเพื่อน”ในการปฏิบัติงาน และการเสริมสร้างกำลังใจในการทำงาน ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานจำนวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการอบรม/ฟื้นฟู “ติดอาวุธทางปัญญา”เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ขาดทักษะการสื่อสารทางแอพพลิเคชั่นไลน์ “อสม.ศูนย์ 3” และปัจจัยด้านการสนับสนุนจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ การมอบหมายงาน จัดให้มีวัสดุ/อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น สร้างคู่มือการในปฏิบัติงานให้กับ อสม. และการนิเทศติดตามเพื่อช่วยเหลือเน้น “ไขปัญหาที่คาใจ”

3. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ควรพัฒนาความรู้ทักษะเพิ่มเติมให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมหรือเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความตระหนักในหน้าที่และเห็นคุณค่าในการปฏิบัติงาน อสม. มากยิ่งขึ้น

References

Atiya, S., Rungnapa, C., Rostikorn. K., & Ladda, R. (2017). The Effects of Using Health Behavior Changing Program (Food, Exersise, Emotion, Smoking, and Alcohol Cessation) among Village Health Volunteers at Klongchanak,Muang District,Suratthani Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 253-264. (in Thai)

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rded. New Jersey: Prentice hall Inc.

Chusuk, T. (2011). The Causal Relationship Model of Factors InfluencingRole Performance of Village Health Volunteers in Public Health Region 18. Doctor of Philosophy Management. Christian University. (in Thai).

Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1998). The Empowerment Process: Integrating Theory and Practice. The Academy of Management Review, 13, 417-482.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row.

Hnuploy, K. (2010). Factors Relating to Village Health Volunteer Performance, Phatthalung Province. Master of Science in Health System Management.Thaksin University. (in Thai).

Kasibutt, K. (2007). Factors Influencing Being Good Membership Behavior in Organization of Employees at the Headquarters of Siam City Bank Public Company Limited. Master of Business Administration Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai).

Krejcie, R. V., & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Phychological Measurement, 30(3), 607-610.

Public Health Division. (2007). Training Manual for Rehabilitation Volunteer Development. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Rattanajana, P. (2007). Role Performance of Public Health Volunteers. Comparison by Personal Characteristics of Tha Mai District. Chantaburi Province. ReportIndependent Study, Master of Public Administration. Local Government Colleges Khonkaen University. (in Thai).

Silcharu, T. (2007). Statistical Analysis and Research with SPSS. Bangkok: V. Interprint. (in Thai).

Srisahad, B. (2008). Statistical Methods for Research. 4thed. Kalasin: Prasankanpim. (in Thai).

Suthitham, P. (2011). Effects of an Empowerment Program for Village Health Volunteers on the Caregiving Ability Perception for the Elderly with Chronic Diseases in the Community. Master Thesis Faculty of Nursing Burapha University Chonburi. (in Thai).

Taweerat, P. (2007). Research Methods in Behavioral Sciences and Social Sciences. 6thed. Bangkok: Bureau of Educational Testing Psychology Srinakharinwirot University. (in Thai).

Trang Municipality. (2015). Division of Public Health and Environment Trang Municipality. Trang Province. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09