การพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้านผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและผู้พึ่งพิง เพื่อให้ผู้ดูแลหลักคลายทุกข์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเยี่ยมบ้านของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและผู้พึ่งพิง (Caregivers: CG) ส่วนมากมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมากกว่าผู้ดูแลหลักที่เผชิญกับความทุกข์ จึงได้มีการพัฒนาทักษะของ CG ในการเยี่ยมบ้านเพื่อให้ผู้ดูแลหลักคลายทุกข์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย มี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้าน ได้แก่ CG จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง โดยกำหนดคุณสมบัติ คือ 1) มีความต้องการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพผู้ดูแลหลัก 2) เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย LTC ติดเตียง และ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มประเมินผลลัพธ์การเยี่ยมบ้านของ CG ได้แก่ ผู้ดูแลหลัก จำนวน 14 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม มีการดำเนิน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการเยี่ยมบ้านของ CG และคุณภาพชีวิตผู้ดูแลหลัก ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนาทักษะการเยี่ยม โดยการใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ผลลัพธ์ของการพัฒนา เป็นการประเมินผลทักษะการเยี่ยมบ้านของ CG และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลหลัก ใช้เวลาศึกษา 10 เดือน (กรกฎาคม 2564 – เมษายน 2565) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกต แบบประเมินทักษะการเยี่ยม และแบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า มี 3 ส่วนประกอบ คือ ส่วนที่ 1 ทักษะในการเยี่ยมบ้านของ CG มี 2 ทักษะ คือ ทักษะที่ 1 การถ่ายทอด ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) มีความรู้ (2) มีความมุ่งมั่นตั้งใจ (3) มีน้ำเสียงน่าฟัง (4) กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายการปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพดี (5) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และ (6) การใช้ภาษาท้องถิ่น และทักษะที่ 2 การปฏิบัติ ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ (1) ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว (2) บันทึกสภาวะสุขภาพ (3) การทบทวนความรู้ (4) การฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT ท่ายืดเหยียด (5) ออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน (6) การนวดมือด้วยตีลัญจกร (7) การนวดเท้าด้วยกะลา (8) การกัวซา และ (9) การแช่มือแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นสมุนไพร ส่วนที่ 2 กระบวนการพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้าน พบว่าโปรแกรมการพัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย 5 แผนการเรียนรู้ ใช้เวลา 32 ชั่วโมง ได้แก่ (1) การดูแลผู้ป่วย LTC และผู้ดูแลหลัก (2) การดูแลสุขภาพตามหลัก 4 อ. (อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย และเอาพิษออก) (3) ทักษะการเยี่ยมบ้าน (4) การประเมินคุณภาพชีวิต และ (5) การถอดบทเรียน ส่วนที่ 3 ผลลัพธ์การพัฒนา พบว่า (1) CG มีทักษะการถ่ายทอด อยู่ในระดับดีมากจำนวน 4 คน และระดับดีจำนวน 3 คน และมีทักษะการปฏิบัติอยู่ระดับดีมากทุกคน (2) ผู้ดูแลหลักมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 10 คน และ ระดับดี จำนวน 4 คน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. 2565.
วรณัน ประสารอธิคม. แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care). วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2561;28(2):92-108.
จินตนา อาจสันเที๊ยะและรัชณีย์ ป้อมทอง. บทบาทพยาบาล : กรณีศึกษาการดูแลด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(1):1-8.
ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ และ อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการเยี่ยมบ้านคลายทุกข์ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 19 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่. 2562: 105-118.
ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล, สอาด มุ่งสิน, พิสมัย วงศ์สง่า. คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี.วารสารเกื้อการุณย์. 2561;25(2):137-151.
เยาวลักษณ์ ทวีกสิกรรม, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, มณีรัตน์ พราหมณี. ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในเขตอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2558;24(3):104-118.
วิภา เพ็งเสงี่ยม, พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ปัญจภรณ์ ยะเกษม. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้พลังอำนาจการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2560; 8(1):152-65.
Bandura. A Gauging the relationship between self-efficacy judgment and action. Cognitive Therapy and Research 1980; 4: 263-68.
จรัญญา อ่างคำ. การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ด้วยรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบสไปซ์ (SPICE Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 2561;20(2):43-49.
สมเกียรติ อินทะกนก, พุฒิพงศ์ สัตยวงทิพย์, อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, รัชชานนท์ ง่วนใจรัก, ชูสง่า สีสัน, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง:กรณีศึกษาพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำซับ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2564; 27(1): 56-67.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะขบ. รายงานการเยี่ยมบ้าน LTC ของ CG ประจำปี 2564. เอกสารอัดสำเนา.2564.
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หลักสูตรฝึกอบรม ยา 8 ขนาน สังหาร NCDs (สร้างเสริมสมรรถนะการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยหลัก 4 อ.นครราชสีมา: โคราชมาเก็ตติ้ง. 2563.
Kemmis S. & McTaggart R. The Action research planner.3rd ed. Deakin University press: Victoria. 1998.
Fishbein , M., & Ajzen , I. (1975). Belief, attitude, intention and behavior: An introduction to theory and research. Reading, MA:Addison-Wesley.
McGill, I. and Beaty, L. Action Learning: A guide professional, management & Educational development. London: Kogan Page. 2000.
McGill, I. and Brockbank, The Action Learning Handbook. London: Routledge Falmer. 2004.
อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2565;28(1):88-100.
จิตรกร วนะรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงโดยการมีส่วนร่วมของชมรมจริยธรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(2):285-94.
อุมาภรณ์ กำลังดี, ภาวนา บุญมุสิก, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. การพัฒนาแนวทางเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือความดันโลหิตสูงด้วยทีมหมอครอบครัว. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(1):34-45.
กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561:36(4):15-24.
อัฉราพรรณ ค้ายาดี. การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วมต่อความสม่ำเสมอของการใช้ยาต้านไวรัสเอสด์ในผู้ป่วยเอสด์ โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2558.
Knowles. The Adult Learner. A Neglected Species. 2 nd ed. Houston : Gulf Publishing;1978.
นิยม บุระคร. การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2561.