ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

Main Article Content

รพีพรรณ วุฒิเอ้ย
เทียนทอง ต๊ะแก้ว

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความดันโลหิต ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแม่อิง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ชนิดศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง ใช้เกณฑ์คัดเข้าคัดออก ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน หลังจากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มโดยวิธีจับฉลาก ได้กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, แบบบันทึกค่าความดันโลหิต และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังได้รับโปรแกรม                  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001, 0.013, 0.042 ตามลำดับ) และพฤติกรรมการดูแลตนเอง, ค่าความดันโลหิตซิสโตลิค และค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค ระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ในกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (p<0.001 เท่ากัน)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

อภิชาต สุคนธสรรพ์, ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา, สุรพันธ์ สิทธิสุข, ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย, วีรนุช รอบสันติสุข, สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ทริค เชียงใหม่; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. Health Data Center [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pyomoph.go.th/

สมเกียรติ โพธิสัตย์ และสุรพันธ์พงศ์ สุธนะ. การแพทย์ไทย. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13507&gid=18

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.

Bandura A. A Social Foundation of thought and action. A Social Cognitive Theory. N.J. Prentice-Hall; 1986.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977;84:191–215.

Orem DE. Self-Care Theory in Nursing. New York: Springer Publishing Company; 2003.

Bahar G, Scafide K, Krall J, Mallinson K, Weinstein AA. Mediating role of self- efficacy in the relationship between family social support and hypertension self-care behaviours: A cross sectional study of Saudi men with hypertension. International Journal of Nursing Practice 2019;25.

Youngran H, Younghee P. The Effect of the Hypertension Management Program based on Self-efficacy for the Elderly in South Korea. International iInstitute (Tokyo). Information; Koganei 2017; 20:1769-1776.

Moradi M, Nasiri M, Jahanshahi M, Hajiahmadi M. The Effects of a Self-Management Program Based on the 5 A’s Model on Self-Efficacy among Older Men with Hypertension. Nursing and Midwifery Studies 2020;8:21-27

Mazar L, Salimabadi Y, Nasirzadeh M, Safarian E. Self-efficacy analysis of health promoting behaviors of hypertensive patients in Rafsanjan. Pak Heart J 2019;52:313–318.

Hai-Yan S, Jia-Kui Z. Effect of intervention by self-effcacy enhancing on quality of Life of patients with hypertension. Journal of Environmental & Occupational Medicine 2017;34:431.

Huang X, Cheng X. Application of Self-efficacy Theory to Improve Medication Adherence in Hypertensive Patients: an Intervention Study. Journer of the american of cardiology 2017;70:86.

Kauric-Klein Z, Peters RM, Yarandi HN. Self-Efficacy and Blood Pressure Self-Care Behaviors in Patients on Chronic Hemodialysis. Western Journal of Nursing Research 2017;39:886–905.

นวพร วุฒิธรรม. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารพยาบาลสาร 2562;46:173-182

Fatemeh Mohali F, Mahmoudirad G, Fatemeh Alhani F, Ebadinejad Z, Foroozanfar H. The Effect of Family-centered Empowerment Model on the Indicators of the Ability of Patients with Hypertension. Iranian Journal of Nursing Research 2018;13(5):

ทีปภา แจ่มกระจ่าง, ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์, จิรวรรณ มาลา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารพยาบาลทหารบก 2560;18:270-279

ภัทรพล มากมี, พิษณุรักษ์ กันทวี, วิภพ สุทธนะ, ธนูศิลป์ สลีอ่อน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย. วารสารสุขศึกษา 2562;42(2):86-98

นิศารัตน์ อุตตะมะ และเกษแก้ว เสียงเพราะ, ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา 2562;42(2):75-85

ชดช้อย วัฒนะ, จงรักษ์ ศุภกิจเจริญ, ณฐวรรณ รักวงศ์ประยูร, ปริญญา แร่ทอง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการตนเองเพื่อควบคุมโรคต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคระดับความดันโลหิต และคุณภาพชีวิตของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงในการศึกษาระยะยาว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลปกเกล้า 2558;26:72-88

ยุภาพร นาคกลิ้ง, ปราณี ทัดศรี. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 2560;6:27-35

ปาริชา นิพพานนท์ และชุติมา ฆารสมบูรณ. ผลของการประยุกต์ใช้การเสริมสร้างพลังอำนาจและความแตกฉายด้านสุขภาพต่อความแตกฉานด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงวัย ในเทศบาลตำบลอุ่มเม่า อำเภอตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขศึกษา 2560;40(2):141-156

พิกุลทิพย์ ขุนเศรษฐ, กีรดา ไกรนุวัตร, ปิยะธิดา นาคะเกษียร. ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. Journal of Nursing Science 2559;34(4):90-102

ปฐมธิดา บัวสม, ยินดี พรหมศิริไพบูลย์, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทายาลัยขอนแก่น 2560;5(4):550-567