การป้องกันการล่วงละเมิดต่อผู้สูงอายุ

Main Article Content

รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว

บทคัดย่อ

     เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า พัฒนาการทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีส่วนทำให้คนไทยอายุยืนยาวขึ้นประกอบกับอัตราเกิดและอัตราตายลดลง ส่งผลให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากในปี พ.ศ. 2513 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 1.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 4.9 ของประชากรไทยทั้งหมด เพิ่มเป็น 11.7 ล้านคน (ร้อยละ 17.6) ในปี พ.ศ.2561 โดยทั่วไปผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเสื่อมถอยอ่อนแอลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม และส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงคนอื่นในการดำรงชีวิต จึงทำให้มีผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ปัญหาหนึ่งที่สำคัญ คือ การถูกล่วงละเมิด โดยบุคคลอื่น เช่น จากบุคคลในครอบครัวและคนแปลกหน้า


     การล่วงละเมิดผู้สูงอายุ คือการกระทำของบุคคลอื่นแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจแต่ก่อให้เกิดอันตรายสร้างความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมแก่ผู้สูงอายุ การล่วงละเมิดผู้สูงอายุอาจแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านอารมณ์และจิตใจ 3) ด้านการเงินและทรัพย์สิน 4) ด้านการทำร้ายทางเพศ และ 5) ด้านการทอดทิ้ง


     การป้องกันการล่วงละเมิดผู้สูงอายุสามารถทำได้หลายวิธีอาทิเช่น 1) ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปให้เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการล่วงละเมิดผู้สูงอายุ ตระหนัก และมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุ 2) สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้น 3) สร้างชุมชนให้เข้มแข็งในการช่วยป้องกันการล่วงละเมิดผู้สูงอายุและ 4) ประสานงานให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนช่วยป้องกันการล่วงละเมิดผู้สูงอายุให้มากขึ้น เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สารประชากร. 24: 1-2. 2558

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: www.thaitgri.org

กรมกิจการผู้สูงอายุ. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.ประมาณการดัชนีการสูงวัย พ.ศ. 2558–573 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th

United Nations Population Fund. Ageing in the twenty-first Century: A celebration and a challenge. New York. 2012

United Nations. World population ageing. New York. 2015

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล. อยู่อย่างไรให้เป็นสุข ในวัยสูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://med.mahidol.ac.th

ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ณัฐวัชร์ นิลกาญจนกุล, กิตติพงศ์ พลเสน, มณีรัตน์ อวยสวัสดิ์. ภาวะคุกคามสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา: เปรียบเทียบระหว่างเพศชายและเพศหญิง. วารสารสุขศึกษา 2562; 42(2):99-109

10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.samitivejchinatown.com

National Health Security Office. Long-term care Public Health for Depressed Elderly People (Long-Term Care) on National Health Security System. Bangkok National Health Security Office. 2016

World Health Organization. Elder Abuse [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int

Sutter CS. Elder Abuse [Internet]. [Cited 2020, June 19]. Available from http://www.bristolda.com

World Health Organization Expert Committee. Health of the elderly. WHO Technical Report Series No.799; 1989

ธีรพันธ์ อินต๊ะปาน. จากสังคมผู้สูงอายุสู่ปัญหาถูกทอดทิ้ง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 19 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th

วัยสูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://en.wikipedia.org

การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ [อินทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th

What is "elder abuse" ? [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.centeronelderabuse.org

Elder abuse [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://en.wikipedia.org

พิสิฐ ระฆังวงษ์ และประพันธ์ สหพัฒนา. ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์2562;10(2):45–66.

อมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์ และคณะ. สถานการณ์ด้านสุขภาพและความชุกของผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรมในจังหวัดชลบุรี. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. กระทรวงสาธารณสุข. 2551

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์, นิวัต วงศ์ใหญ่ และเบญจมาส เจริญสุขพลอยผล. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม : การสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557

ธนธร ภูมี. การทบทวนมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2559

Ho CSH, et al. Elder abuse: A Meta-analysis and Meta-regression. East Asian Arch Psychiatry 2017;27:43-55.

Yon Y. et al. Elder abuse in community setting: a systematic review and meta-analysis. The Lancet Global Health 2017;5(2):147-156.

National Council on Aging, 2020. Elder Abuse Facts [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ncoa.org

ยมนา ชนะนิล และพรชัย จูลเมตต์. การพยาบาลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):29–41.

Elder abuse [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room

Preventing Elder Abuse [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cdc.gov/violenceprevention

รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว. ผู้สูงอายุ ปัญหาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา 2561;41(2):42-50

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องสังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2562

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. การทบทวนกฎหมายและนโยบายด้านผู้สูงอายุสู่การจัดการสุขภาพ.วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2558;1(2)149-164.