การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่จำกัดของผู้สูงอายุไทย: ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560

Main Article Content

อลงกรณ์ เปกาลี
ภรณี วัฒนสมบูรณ์

บทคัดย่อ

     ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ คือ กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ผู้สูงอายุปฏิบัติโดยไม่ต้องการอุปกรณ์ หรือผู้ช่วยเหลือ ซึ่งมีความสำคัญต่อการระบุความต้องการความช่วยเหลือ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ การวิจัยทุติยภูมิครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ข้อมูลจากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 39,032 คน ที่ตอบคำถามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันครบถ้วนถูกใช้ในการวิเคราะห์ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ ถูกใช้วิเคราะห์ข้อมูล


     ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม ร้อยละ 29.4 ของผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างน้อย 1 กิจกรรมสูงถึง การกลั้นปัสสาวะ การเคลื่อนที่ภายในบ้าน คือ กิจกรรมที่ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดมากที่สุด ผลการวิเคราะห์สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างน้อย 1 กิจกรรม คือ เพศหญิง, ผู้สูงอายุตอนกลางและตอนปลาย, สถานภาพโสด/หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่, ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี, มีรายได้ไม่เพียงพอ, มีประวัติการหกล้ม, มีปัญหาการมองเห็น การได้ยิน และการเคี้ยว, และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ควรมีมาตรการในการดูแลและสนับสนุนผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้น้อย การคัดกรองปัญหาการเสื่อมของอวัยวะควรถูกบูรณาการในการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อการตรวจสอบ และวางแผนในการสนับสนุนและดูแลแต่เริ่มแรก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มิเตอร์ประเทศไทย 2564 [เข้าถึงเมื่อ 19 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/.

Population Projection Working Group. Population Projections for Thailand: 2010–2040. 2013.

World Bank. Thailand Life Expectancy 2021 [cited 2021 March 19]. Available from: https://data.worldbank.org/indicator/SP.DYN.LE00.IN?locations=TH.

คณะทำงานสุขภาพคนไทย. สุขภาพคนไทย 2560. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2560.

คณะทำงานสุขภาพคนไทย. สุขภาพคนไทย 2561. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2561.

คณะทำงานสุขภาพคนไทย. สุขภาพคนไทย 2562. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. Situation of the Thai elderly 2011. 2012.

Edemekong PF, Bomgaars DL, Sukumaran S, Levy SB. Activities of Daily Living. StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2021.

World Health Organization. Disability and Health: Geneva; 2020 [cited 2021 March 19]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/disability-and-health.

รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว. ผู้สูงอายุ ปัญหา และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา. 2561;41(2):9.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานบริการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2561. 128 หน้า.

Verropoulou G, Tsimbos C. Disability trends among older adults in ten European countries over 2004-2013, using various indicators and Survey of Health, Ageing and Retirement in Europe (SHARE) data. Ageing and Society. 2017;37(10):2152.

Connolly D, Garvey J, McKee G. Factors associated with ADL/IADL disability in community dwelling older adults in the Irish longitudinal study on ageing (TILDA). Disability and rehabilitation. 2017;39(8):809-16.

Ćwirlej-Sozanska A, Wisniowska-Szurlej A, Wilmowska-Pietruszynska A, Sozanski B. Determinants of ADL and IADL disability in older adults in southeastern Poland. BMC geriatrics. 2019;19(1):1-13.

Taş Ü, Verhagen AP, Bierma-Zeinstra SM, Hofman A, Odding E, Pols HA, et al. Incidence and risk factors of disability in the elderly: the Rotterdam Study. Preventive medicine. 2007;44(3):272-8.

Feng Z, Lugtenberg M, Franse C, Fang X, Hu S, Jin C, et al. Risk factors and protective factors associated with incident or increase of frailty among community-dwelling older adults: A systematic review of longitudinal studies. PloS one. 2017;12(6):e0178383.

แจ่มจันทร์ ประทีปมโนวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพฤติกรรมการออกกำลังกาย และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2019;27(4):66-76.

Supurairat C, Jai-aree A. Factors related to the ability to perform daily activities of the elderly intambon huaykwang, ampeo kamphaeng saen, changwat nakhonpathom. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 2014;7(2):187-202.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2560. 2561.

Ferrucci L, Koh C, Bandinelli S, Guralnik J. Disability, functional status, and activities of daily living. Encyclopedia of gerontology: Elsevier Inc.; 2010. p. 427-36.

Hung WW, Ross JS, Boockvar KS, Siu AL. Recent trends in chronic disease, impairment and disability among older adults in the United States. BMC geriatrics. 2011;11(1):1-12.

Jiravaranun S, Jaipang C. Urinary incontinence in older people: Nursing Role. Vajira Nursing Journal. 2019;21(2):77-87.

Peron EP, Gray SL, Hanlon JT. Medication use and functional status decline in older adults: a narrative review. The American journal of geriatric pharmacotherapy. 2011;9(6):378-91.