ผลของการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการรับประทานยาที่ถูกต้องของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

Main Article Content

ขนิษฐ ชาญชัย
มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์
ภรณี วัฒนสมบูรณ์
นิรัตน์ อิมามี

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้อง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 76 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 38 คนเท่ากัน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้อง เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์  กิจกรรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการรับประทานยาที่ถูกต้องด้วยวิธีการทางสุขศึกษา ได้แก่ การบรรยายประกอบสไลด์ การสาธิตและให้ฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้จากตัวแบบ การติดตามเยี่ยมบ้าน และการเฝ้าระวังระดับความดันโลหิตโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้าน (อสม.) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการบริการสุขศึกษาตามปกติจากสถานบริการสาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test


      ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการรับประทานยาที่ถูกต้อง ความคาดหวังในผลลัพธ์ในการรับประทานยาที่ถูกต้อง พฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการรับประทานยาที่ถูกต้องมีประสิทธิผลสามารถนำไปประยุกต์ในการดูแลและส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องได้ โดยพิจารณากิจกรรมตามความเหมาะสมกับบริบทของสถานบริการ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Hypertension 2019 [Internet]. [cited 2019 March 13]. Available from: https://www.who.int/health-topics/hypertension/

World Hypertension League Mortality in patients with hypertension 2019 [Internet]. [cited 2019 March 13]. Available from: https://www.whleague.org/

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/mission1

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://spd.moph.go.th/new_bps/43file_version2.3

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. 10 อันดับแรกของสาเหตุอัตราป่วยของผู้ป่วยนอกจังหวัดชุมพร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึง เมื่อ 10 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmpo.moph.go.th/cmp3/index.php/

International Society of Hypertension ISH Global Hypertension Practice Guidelines 2019 [Internet]. [cited 2019 June 29]. Available from: https://ish-world.com/index.htm

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงใน ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึง เมื่อ 10 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก:https://ops.moph.go.th/public/index.php/hdcservice

ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์ และศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม การใช้ยาในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี 2560; 44(3): 67-83.

Bandura A. Social Learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1997.

Evans Rj. Albert Bandura: The man and his ideas – A dialogue. New York:Praeger; 1989.

Wayne W. Daniel. Biostatistics: A foundation of analysis in health science. (7th ed). New York: John Wiley & Sons; 1999.

สุนิดา สดากร, วรนุช แสงเจริญ, โพยม วงศ์ภูวรักษา และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557; 9 (ฉบับพิเศษ): 116-121.

นันทิกานต์ หวังจิ, อุมาพร ปุญญโสพรรณ และไหมไทย ศรีแก้ว. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุมุสลิมที่ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงไม่ได้. 34th the national graduate research conference 2558; 34: 835-846.

ทีปภา แจ่มกระจ่าง, ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ และจิรวรรณ มาลา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและความดันโลหิตของผู้สูงอำยุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18:270-279.

จุฑารัตน์ ศิริพัฒน์, สุทธีพร มูลศาสตร์ และฉันทนา จันทวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(1):42-51.

สมพงษ์ หามวงค์ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(4):451-460.

นวพร วุฒิธรรม, รัตนา ช้อนทอง และชุติญา สมประดิษฐ. ผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;21(1):309-318.

นิภานันท์ สุขสวัสดิ, อารยา ปรานประวิตร และสาโรจน์ เพชรมณี. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;4(1):49-65.

สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2548.

อรวรรณ มุงวงษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42(5):62-70.

เรืองศรี ศรีสวนจิก และศิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;34 (1):105-114.