ประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด

Main Article Content

ณัฐวร เมฆมัลลิกา
อรัญญา ตุ้ยคําภีร์

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันความร่วมมือเชิงบำบัดได้รับความยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางบวกแก่ผู้รับบริการ  แม้ว่าแต่ละทฤษฎีการปรึกษาเชิงจะให้น้ำหนักความสำคัญกับสัมพันธภาพในการปรึกษาไม่เท่ากัน  ความร่วมมือเชิงบำบัดก็ยังมีบทบาทสำคัญในกระบวนการปรึกษาของทุกทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ เพื่อศึกษาประสบการณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธในการพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัด ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ จำนวน 5 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้คำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  ผลการวิจัยพบ 6 ประเด็นหลัก   ได้แก่ ความสงบ ว่าง รับรู้โลกของผู้มาปรึกษาได้อย่างพอดี    การรับรู้ความไม่พร้อม (กรณีที่ไม่สามารถพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัดได้)  ความไม่ย่อท้อ มีสติรู้เท่าทันใจตัวเองที่ไม่นิ่ง กลับมามีใจสงบ รับรู้โลกผู้มาปรึกษาได้ตามจริง (กรณีที่ไม่สามารถพัฒนาความร่วมมือเชิงบำบัดได้ในตอนแรก แต่กู้คืนมาได้ในตอนหลัง) ความพร้อมในการร่วมมือกับผู้มาปรึกษาเพื่อคลี่คลายทุกข์ การมีใจคลี่คลายจากทุกข์ ใช้ชีวิตตามที่เป็นจริง และสุดท้ายเป็นความเข้าใจหลักธรรมเป็นแผนที่ในการทำงานคลี่คลายทุกข์ ข้อค้นพบในการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ทางจิตใจของนักจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธในเรื่องของความร่วมมือเชิงบำบัด  ซึ่งข้อความรู้ความเข้าใจดังกล่าวสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและออกแบบแผนการบำบัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wampold BE. The great psychotherapy debate: models, methods, and findings. Mahwah (NJ): Lawrence Erlbaum; 2001.

Muran JC, Barber JP. An introduction: establishing the context and rationale. In: Muran JC, Barber JP, editors. The therapeutic alliance: an evidence-based guide to practice. New York: Guilford Press; 2010.

Bordin ES. The generalizability of the psychoanalytic concept of the working alliance. Psychotherapy (Chic). 1979;16(3):252-260.

Tuicomepee A, Romano JL, Pokaeo S. Counseling in Thailand: development from a buddhist perspective. J Couns Dev. 2012;90(3):357-361.

โสรีช์ โพธิแก้ว. การสังเคราะห์หลักอริยสัจ 4 สู่กระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยา/จิตรักษาเพื่อการพัฒนา รักษา และเยียวยาชีวิตจิตใจ: แนวคิด แนวทาง ประสบการณ์ และงานวิจัย. กรุงเทพฯ: หลักสูตรสาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

สุภาพร ประดับสมุทร. การเกิดปัญญาในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

กวีไกร ม่วงศิริ. การรับรู้ประสบการณ์ด้านจิตใจของพนักงานภายหลังได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Smith JA, Flowers P, Larkin M. Interpretative phenomenological analysis: theory, method and research. London: SAGE Publications Ltd; 2009.

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. การวิเคราะห์เชิงปรากฏการณ์วิทยาแบบตีความ: ระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพสำหรับการวิจัยทางด้านจิตวิทยา. ว. ศึกษาศาสตร์ 2560;28(3):1-13.

Binder P, Holgersen H, Nielsen GH. Re-establishing contact: a qualitative exploration of how therapists work with alliance ruptures in adolescent psychotherapy. Couns Psychother Res. 2008;8(4):239-245.