ปัจจัยทำนายการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

หทัยรัตน์ นิลประเสริฐ
กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์
พิทยา จารุพูนผล
ปิยะธิดา ขจรชัยกุล

บทคัดย่อ

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดที่มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ซ้ำและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และสามารถคาดทำนายโอกาสของการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ใช้แบบสอบถามชนิดถามตอบด้วยตนเอง กับมารดาวัยรุ่นหลังคลอด 3 เดือน ถึง 1 ปี ที่มีอายุ 15-19 ปี จำนวน 301 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจิสติก


       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการคุมกำเนิดหลังคลอดร้อยละ 74.4 ปัจจัยที่ร่วมคาดทำนายโอกาสของการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและการคุมกำเนิดจากญาติพี่น้อง พบว่ามารดาวัยรุ่นจะคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 2.4 เท่า (Adjusted OR = 2.418, 95% CI = 1.023-5.712) ของกลุ่มที่ไม่ได้รับ มารดาวัยรุ่นที่มีสถานภาพสมรสคู่ จะคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 3.7 เท่า (Adjusted OR = 3.783, 95% CI = 1.251-11.438) ของผู้ที่มีสถานภาพสมรสอื่นมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรเพียงคนเดียว จะมีการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 4.5 เท่า (Adjusted OR = 4.549, 95% CI = 1.904-10.872) ของมารดาวันรุ่นที่มีบุตรมากกว่า 1 คน และมารดาวัยรุ่นที่มีการเข้าถึงบริการวางแผนครอบครัวระดับมาก จะมีการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 2.2 เท่า (Adjusted OR = 2.276% CI = 1.082-4.788) ของกลุ่มที่เข้าถึงในระดับน้อย ตัวแปรทั้ง 4 สามารถร่วมกันคาดทำนายโอกาสที่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดจะคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำได้อย่างถูกต้องร้อยละ 88.4 ดังนั้น บุคลากรสุขภาพควรให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด โดยเน้นการให้ข้อมูลทั้งกับมารดาวัยรุ่นและคนใกล้ชิดในครอบครัวเพื่อสร้างความตะหนักต่อการไปรับบริการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี 2558 โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2560

Desirae M, Karen H. Adolescent Pregnancy in America: Causes and Responses. The Journal for Vocational Special Needs Education 2007; 30 (1): 4-12.

เกตย์สิรี ศรีวิไล. การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่น ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคใต้.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3:142-52.

ฤดี ปุงบางกะดี่, เอมพร รตินธร. ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557; 32: 23-31.

UNICEF. Situation analysis of adolescent pregnancy in Thailand, Synthesis Report 2015.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. 2559, 31 มีนาคม. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30ก. หน้า 2-4

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2560 [อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2562]; เข้าถึงได้จาก http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=totaldownload#article

Green, LW, & Kreuter, MW. Health promotion planning: An education and ecological. Approach, 4th ed. Toronto: Mayfield publishing company, 2005.

กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. ตำราการวิจัยเชิงสำรวจในงานสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โนเบิ้ลพริ้น จำกัด; 2560.

เกสร เหล่าอรรคะ, จินตนา บุญจันทร์, พรรณี กู้เกียรติกูล, เพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์, บุษบา บุญกระโทก, มลฤดี ประสิทธิ์.การคุมกำเนิดของวัยรุ่นที่มารับบริการที่หน่วยงานวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2554; 34:40-7.

Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill,1971.

Penchansky R. & Thomas JW. The Concept of access definition and relationship to consumer satisfaction. J Medical Care 1981;19(2): 127-140.

House JS. Work stress and social support. London: Addison – Wwsley, 1981.

สิริลัดดา บุญเนาว์. ความรู้ทัศนคติและความพึงพอใจต่อการคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น. ชัยภูมิเวชสาร 2559; 36:35-43.

Jackson R, Schwarz EB, Freedman L, Darney P. J Contraception 2000;61(6):351-7.

Win MH. Practice of contraception in premarital and marital sexual relationship amongMyanmar youth migrants in Bang Bon district, Bangkok and their reproductive services accessibility. Bangkok: Chulalongkorn University. 2009. Available at: http://library.cphs.chula.ac.th/Theses/2009/Thesis_WinMarHan.pdf, accessed Jan 10, 2019.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. แนวทางการจัดบริการคุมกำเนิดสำหรับวัยรุ่น และหญิง-ชายที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้แต่งงาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2556 :2-10.

วีนัส วัฒนธำรงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ซ้ำ. วารสารพยาบาลทหารบก 2017;18: 102-11.

ชัยรัตน์ เรืองฤทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับบริการคุมกำเนิดของหญิงแต่งงานเผ่ากะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร ศวน. [อินเทอร์เน็ต].2554 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2562];100:14 เข้าถึงได้จาก http://hhdc.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=600.