ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

สิทธานนท์ แจ่มหอม
ทัศนีย์ ศิลาวรรณ
สุนีย์ ละกำปั่น
จุฑาธิป ศีลบุตร

บทคัดย่อ

     สัดส่วนของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง และเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ในปี 2559 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ (HbA1C≥7%) จำนวน 155 คน จากการสุ่มตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ  4 แห่ง จาก 11 แห่ง และสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจากทะเบียนการรักษาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-square test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 


     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมในเกณฑ์สูงร้อยละ 62.6 โดยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในเกณฑ์สูงร้อยละ 65.8 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นการมีปฏิสัมพันธ์ในเกณฑ์สูงร้อยละ 59.4 และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นวิจารณญาณในเกณฑ์สูงร้อยละ 67.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประวัติการมีภาวะแทรกซ้อน (p=0.045) การประเมินตนเอง (p=0.033) และการจัดการตนเองภาพรวม (p=0.041) จึงควรสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เคยมีภาวะแทรกซ้อน ควบคู่กับการส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโดยเน้นเรื่องการติดตามตนเอง และการเสริมแรงตนเอง  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Health Data Center report. อัตราป่วย รายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประ ชากร [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=eeeab22e386d32e7f5f5ecefebce 0001

HDC report. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปีงบประมาณ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http: //hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aeee3ac3

HDC report. อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อประชากร [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2560].เข้าถึงได้จาก: http://203.157.102.117/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=eeeab22e386d32e7f5f5ecefebce0001

HDC report. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี เขตบริการสุขภาพที่ 4 จังหวัดสิงห์บุรี ปีงบประมาณ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 11 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http: //203.157.102.117/hdc/reports/report. php?source=pformated/format1.php &cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=137a726340e4dfde7bbbc5d8aee e3ac3

Key Performance Indicators. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=169

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

Mayo Clinic Staff. Risk factors [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 5 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/basics/risk-factors/con-20033091

วรรณรา ชื่นวัฒนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 2557;3:163-170.

World Health organization. Diabetes [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/diabetes

De Castro SH, Brito GN, & Gomes MB. Health literacy skills in type 2 diabetes mellitus outpatients from an university-affliated hospital in Rio de Janeiro, Brazil. Diabetology & metabolic syndrome 2014;6(1):126.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์ และนรีมาลย์ นีละไพจิตร. การสำรวจความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy) ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/news/5523.

Wayne WD. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: John Wiley & Sons Inc.; 1995.

ทัศนีย์ ขันทอง และคณะ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสภาการพยาบาล 2559;28(1):85-99.

Benjamin S, Thomas H, George F, Thomas S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. 1st ed. New York: McGraw-Hill; 1971.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. สถานการณ์ปัจจุบันและรูป แบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: http://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/doc20141107.pdf

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด, 2554.

กิตติพศ วงศ์นิศานาถกุล. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้ารับบริการ ณ ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561;8(1):49-61.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์ และคณะ. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2561;24(2):34-51.

Sarang K. Association of Health Literacy With Self-Management Behavior in Patients With Diabetes. Diabetes care 2004;27(12):2980-2982.

ชลธิรา เรียงคำ และคณะ. ความแตกฉานด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง อายุ และความสามารถในการมองเห็นในการทำนายพฤติกรรมในการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34(4):35-46.

McCleary-Jones, et al. Health Literacy and Its Association with Diabetes Knowledge, Self-Efficacy and Disease Self-Management Among African Americans with Diabetes Mellitus. ABNF Journal 2011;22(2):25-32.

Mirjam P. Fransen. Diabetes self-management in patients with low health literacy: Ordering findings from literature in a health literacy framework. Patient Education and Counseling 2012;88(1):44-53.

Jessica V. The impact of health literacy on diabetes self-management education. Health Education Journal 2018;77(33):349-362.