ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ฤดีพร โคตรสงคราม
ภรณี วัฒนสมบูรณ์
มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์

บทคัดย่อ

     ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวในหลากหลายรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี จำนวน 240 คน ที่ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 4 ส่วน  ได้แก่ 1. ปัจจัยนำ (คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว เจตคติต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง) 2. ปัจจัยเอื้อ (การเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวและการได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว)            3. ปัจจัยเสริม (อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว และการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวของกลุ่มเพื่อน) และ 4. พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสถิติเชิงพรรณนา แสดงด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมานโดยใช้สถิติการทดสอบไคสแควร์


     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.1 มีการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว กลุ่มผู้ที่ใช้ส่วนใหญ่เลือกชื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวในระดับเหมาะสม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบสองตัวแปรพบว่า พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว เจตคติต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การได้รับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว การได้รับข้อมูลข่าวสารสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาว และการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวของกลุ่มเพื่อน แม้ว่าในการศึกษานี้จะพบการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวไม่มากแต่ผลการศึกษายังคงแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของสุขศึกษาในโรงเรียนต่อการส่งเสริมความรู้และเจตคติต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกิจกรรมที่ผ่านบุคคลสำคัญโดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทักษิณีย์ ศรีพล, เบญจมาภรณ์ เกศามา, สุทธาสินี สุวรรณกุล, ณรงค์ชัย จักษุพา, และสุวรรณา ภัทรเบญจพล. การใช้กลูต้าไธโอนเพื่อผิวขาวของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2559;11(ฉบับพิเศษ):171-178.

รุ่งนภา กงวงษ์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ “เครื่องสำอางอันตราย” ของวัยรุ่นหญิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2554;7(1):76-87.

World Health Organization. Mercury in skin lightening products. 2018 [Accessed 09 September 2018] Available from http://www.who.int/ipcs/assessment/public_health/ mercury_ flyer.pdf; 2011.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. อันตรายจากยาลดความอ้วนและผลติภัณฑ์เสริมความงาม[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.senate. go.th/assets/portals/28/fileups/146/files/เอกสารประกอบการสัมมนา.pdf

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5 สมุทรสงคราม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. สารห้ามใช้ที่ปลอมปนในเครื่องสำอางชนิดครีมทาผิว : โคเบทาซอลโพรพิโอเนต. วารสารอาหารและยา 2557;21(3):18-23.

ปิ่นนรี ขัตติพัฒนาพงษ์.กลูต้าไธโอน.วารสารกรมการแพทย์ 2558;40(6):11-13.

พิมลวรรณ เฉลิมวุฒิกุล. พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อทำให้ผิวขาวของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2554.

ปรินา ณ พัทลุง. พฤติกรรมการใช้เครื่องสำอางอันตรายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จ.ตรัง; 2555.

นุชจรีย์ มีผล. การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

สมจิตร ทองสุขดี และธีรยา วรปาณิ.การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียน อย.น้อย ในโรงเรียนอย.น้อยจังหวัดสุโขทัย. วารสารอาหารและยา 2560;24(3):28-37.

ธีรยา วรปาณิ และปองพล วรปาณิ. การสำรวจปัจจัยที่มีผลในการตัดสินใจและพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของประชาชนในจังหวัดตาก. วารสารอาหารและยา2560;24(3):38-48.

ฤชุดา กองจันทา. พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าและเส้นผมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

นิธิกานต์ อธิธนัยชัยภัทร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ 2559;5(2):17-33.

ชัยวัฒน์ สิงห์หิรัญนุสรณ์ และ อรุณรัตน์ อรุณเมือง. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารอาหารและยา 2556;20(1):38-47.

นันทภัท ศรีจินดา. พฤติกรรมในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวในร้านขายยาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] .ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

ปพนสรรค์ กลั่นเรืองแสง. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความขาวใสของผิวพรรณในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2561;18(1):13-23.

วรภรณ์ ชัยนะกุล. พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต].นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2557.

Kamagaju L, Morandini R, Gahongayire F, Stévigny C, Ghanem G, Pirotte G, Duez P. Survey on skin‐lightening practices and cosmetics in Kigali, Rwanda. International journal of dermatology 2016;55(1):45-51.

น้ำหนึ่ง วรพงศธร. ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อเครื่องสำอางป้องกันแสงแดด. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2551;4(2):73-80.

วรรณศิริ สิทธินิสัยสุข. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ชลบุรี:มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ขวัญนภา มากมั่งมี. ทัศนคติด้านความรู้ของผู้หญิงที่มีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์กลูต้าไธโอนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2557.

ธีรวรรณ ตั้นสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าสำหรับผู้ชาย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2554.

Osei M, Ali M, Owusu A, Baiden F. Skin-lightening practices among female high school students in Ghana. Public Health 2018;155:81-87.

พิมพ์ศิริ อุยวัฒนกุล. พฤติกรรมการเลือกใช้เครื่องสำอางสำหรับผิวหน้าของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2560;28(2):98-110.

จุฑา ภู่จำรูญ. อิทธิพลของสื่อโฆษณาสินค้าครีมบำรุงผิวหน้าที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวหน้าของ วัยรุ่นไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต; 2549.

เลิศชาย เลิศวุฒิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารอาหารและยา 2558;22(3):12-21.

เพลิน จำแนกพล. การศึกษาพฤติกรรมในการเลือกใช้เครื่องสำอางทำเองของกลุ่มนักเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารอาหารและยา 2557;21(3):31-38.

วรรณกานต์ จรูญพรพงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, & Partridge KB. Health program planning: A diagnostic approach (1sted.). Palo Alto, CA: Mayfied; 1980.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. ข้อมูลนักเรียน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://data.bopp-obec.info/emis/

student.php?Area_CODE=101717&Edu_year=2561; 2561.

Daniel WW, & Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences (10th ed.). Hoboken, NJ: Wiley & Sons; 2013.

อรรณชุลี คันศร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอาง ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของกลุ่มแม่บ้านทหารบก ในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2547.

สมิทธิ์ อารยะสกุล. บทบาทของแพทย์ต่อปัญหาความงามของวัยรุ่น. กุมารเวชสาร 2555;19(2):96-97.

Fishbein M. and Ajzen I. Belief, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research Reading. Massachusetts: Addison Wesley; 1975.