การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว และความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ จังหวัดแพร่

Main Article Content

นวลนภา สวยสด
สุธรรม นันทมงคลชัย
โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์
ศุภชัย ปิติกุลตัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ จำนวน 310 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 23 มกราคม ถึง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า ครอบครัวส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60.3 และไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 39.7 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความเครียดของครอบครัว จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว ด้านความผูกพันทางอารมณ์ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ โดยครอบครัวที่ไม่มีความเครียด มีโอกาสที่จะครอบครัวเข้มแข็งผ่านเกณฑ์เป็น 4.7 เท่าของครอบครัวที่มีความเครียด ครอบครัวที่ไม่มีผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงมีโอกาสที่ความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 3.8 เท่าของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ครอบครัวที่มีการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวด้านความผูกพันทางอารมณ์ดี มีโอกาสที่ความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 2.4 เท่าของครอบครัวที่มีการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวด้านความผูกพันทางอารมณ์ไม่ดี และครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ จำนวน 3 - 4 คน มีโอกาสที่จะมีความเข้มแข็งของครอบครัวผ่านเกณฑ์เป็น 2 เท่าของครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวที่ประกอบอาชีพ จำนวน 1 - 2 คน ผลการศึกษาครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว โดยการส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีต่อกัน การจัดการความเครียดของสมาชิกครอบครัว การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์. นโยบายและยุทธศาสตร์การ พัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2560.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ดัชนีครอบครัวอบอุ่น พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร; 2558.

บังอร กล่ำสุวรรณ์, วัลภา ศิริกุล และ อัญชรินทร์ คำโคกสี. สถานการณ์ครอบครัว ในจังหวัดหนองบัวลำภูตามเกณฑ์คุณลักษณะครอบครัวแข็งแรงของกรมอนามัย. หนองบัวลำภู; 2550.

Epstein NB, Bishop DS. The McMaster Assessment Device (FAD). In F. Walsh (Ed.), Normal Family Processes. New York: Guildford Press; 1993.

กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่. รายงานคุณภาพชีวิต ประจำปี 2561. แพร่; 2561.

Ningsih DS, Herawati T. Family System Stressor-Strength Inventory (FS31). Pocket guide to family assessment and intervention, St Louis; 1991.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2561.

Bloom B. Taxonomy of education objective. The classification of educational goals Handbook H. Affective domain. New York: David Mckey: company,Inc. 1971.

Puasiri S, Sitthimongkol Y, Tilokskulchai F, Sangon S, Nityasuddhi D. Adaptation of Thai Families with Mentally Ill Young People. Pacific Rim International Journal of Nursing Research; 2011.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ซันต้า; 2542.

กรรณิการ์ ธุซ้อน. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งของครอบครัว การเผชิญปัญหาของครอบครัวและความผามสุกของสมาชิกในครอบครัว ผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการทางกาย. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18(1):93-101

Ghaffari M, Ahmadi A, Ghasemi V, Baghban I. Prediction of Family Strength: The Integrated Spiritual-Religious/Resilient Perspection for Understanding the Healthy/Strong Family; 2013.

Pollock SE, Christian BJ, Sand D. Responses to chronic illness: Analysis of psychological and physiological adaptation. Nursing Research 1990; 39(5):300–304.

อรวรรณ ลิขิตพรสวรรค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกในครอบครัวของพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข] กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.