The Electronic Health Literacy among People with Hypertension in Prachinburi Province

Main Article Content

Chanasit Kunanonpongs
Manirat Therawiwat
Nirat Imamee
Malinee Sompongcharoen

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 311 คน สุ่มตัวอย่างโดยกำหนดสัดส่วนตามเพศและอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-square test) และสถิติฟิชเชอร์ (Fisher’s Exact test)


            ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.8 อายุเฉลี่ย 57 ปี (SD : 7.9, max: 69, min : 35) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 8.8 ปี (SD. : 5.2, max : 30, min : 1) ส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.7 ระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับถูกต้องน้อยร้อยละ 57.3  (SD. : 4.2, max :85, min : 61) ไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพ (p = 0.069) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ อายุ (p =0.026) เจตคติต่อการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุข (p= 0.012) เจตคติต่อการเข้าถึงข้อมูลโรคความดันโลหิตสูงออนไลน์ (p= 0.008) ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ และส่งเสริมเจตคติการสืบค้นข้อมูลออนไลน์นร่วมในการให้ความรู้สุขศึกษาในคลินิกโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้สารสนเทศด้านสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์และสามารถสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง

Article Details

Section
Research Article

References

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562). 2562. กรุงเทพมหานคร: ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง.

Thai Hypertension Society 2019. Thai guidelines on the treatment of hypertension. 2019.

กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบของ COVID-19 ต่อระบบบริการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตุลาคม พ.ศ. 2564. (สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2564) Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1187720211012064924.pdf]

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานการพัฒนาคุณภาพการบริการในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VDO Clip) “การให้ความรู้และสร้างทักษะเพื่อการดูแลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง”. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1188820211015084413.pdf

StellefsonM. E-health literacy competencies among undergraduate health education students: A preliminarystudy. Int Electronic J Health Educ 2011; 14: 46-58.

Norman CD, Skinner HA. eHEALS: the eHealth literacy scale. J Med Internet Res. 2006; 8(4): e27.

Eng TR. The e-Health Landscape: A Terrain Map of Emerging Information and Communication Technologies in Healthand Health Care. Princeton, NJ: The Robert Wood Johnson Foundation; 2001.

Shiferaw KB, Tilahun BC, Endehabtu BF, Gullslett MK, Mengiste SA. E-health literacy and associated factors among chronic patients in a low-income country: a cross-sectional survey. BMC Med Inform Decis Mak. 2020; 20(1): 1-9.

Mitsutake S, Shibata A, Ishii K, Oka K. Associations of eHealth literacy with health behavior among adult internet users. J Med Internet Res. 2016; 18(7): e192.

อัศวิน โรจนสมพงษ์, วิชุดา จิรพรเจริญ, นพกร นันสุวรรณ, ชัยศิริ อังคุรมานนท์, และ กนกพร พิญโญพาณิชย์. 2564. Internet Use, Electronic Health Literacy, and Hypertension Control among the Elderly at an Urban Primary Care Center in Thailand: A Cross-Sectional Study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2021;18(18):9574. Available from: https://www.mdpi.com/1660-4601/18/18/9574

Norman CD, Skinner HA. eHealth literacy: essential skills for consumer health in a networked world. Journal of medical Internet research. 2006 Jun 16;8(2):e506.

Adam AM. Sample Size Determination in Survey Research. J Sci Res Rep. 2020;26(5):90-97. doi: 10.9734/jsrr/2020/v26i530263.

Likert, R. A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 1932; 22 (140), 55.

Xie L, Zhang S, Xin M, Zhu M, Lu W, Mo PK-H. Electronic health literacy and health-related outcomes among older adults: A systematic review. Prev Med. 2022;157:106997

García-García D, Ajejas Bazán MJ, Pérez-Rivas FJ. Factors influencing eHealth literacy among Spanish primary healthcare users: cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2022 Nov 23;19(23):15497.

Kim MN, Yoo YS, Hwang KH, Cho OH. The effects of office workers' attitudes to internet health information, e-health literacy on health information seeking behavior and health-related behavioral intention. Journal of Digital Convergence. 2019;17(11):357-67.

Arcury TA, Sandberg JC, Melius KP, Quandt SA, Leng X, Latulipe C, Miller Jr DP, Smith DA, Bertoni AG. Older adult internet use and eHealth literacy. Journal of Applied Gerontology. 2020 Feb;39(2):141-50.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. ความรอบรู้สุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (eHealth Literacy): ความท้าทายด้านการสาธารณสุขในประเทศไทย. หน้า 40-52, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 เรื่อง "ล้ม หรือ รุก: ปรับพฤติกรรมสู่ชีวิตใหม่." กรุงเทพฯ: สมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 2565.