Material Design to Promote Self-sufficient Way of Living through Jewelry

Main Article Content

อรอุมา วิชัยกุล
สุภาวี ศิรินคราภรณ์

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการออกแบบวัสดุรักษ์โลกสำหรับงานเครื่องประดับ ที่เสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยวิถีแห่งความพอเพียง ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลให้เห็นว่าความพอดีของการใช้ชีวิตอันส่งผลให้เกิดการอยู่ดีกินดีไม่ใช่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจหรือการพึ่งพิงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การพัฒนาที่สมบูรณ์ต้องดำเนินควบคู่กันไประหว่างการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่เพื่อคนในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยการคำนึงถึงความพอดี พอประมาณ และสามารถพึ่งพาตนเองได้จนเกิดเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี


     แนวความคิดในข้างต้นจึงถูกสื่อสารผ่านกระบวนการออกแบบวัสดุ โดยเลือกใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประเภทเส้นใยธรรมชาติ เช่น หญ้าแฝกและเปลือกข้าวโพด และวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวันประเภทถุงพลาสติก นำมาทดลองและออกแบบรูปลักษณ์ใหม่ด้วยการใช้ความร้อนจากเตารีด เพื่อประสานวัสดุทั้ง 2 ประเภทเข้าด้วยกันแทนการใช้กาว ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่เรียบง่าย สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งมีต้นทุนต่ำ ไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถสร้างผลลัพธ์หรือเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด สอดคล้องกับวิถีพอเพียงอันมีเนื้อหาสาระของการส่งเสริมความอยู่ดีกินดีด้วยการพึ่งพาตนเอง เพื่อเป็นการสร้างสุนทรียะที่เกิดจากทักษะฝีมือและขยายผลสู่การออกแบบเครื่องประดับที่ยั่งยืน สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการใช้ชีวิตและการบริโภคที่สมเหตุสมผล

Article Details

Section
Academic Article

References

1. TCDC. ความต่อเนื่องของเทรนด์จากปี 2012 สู่ 2013. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 12].เข้าถึงได้จาก: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail
2. สุเมธ ตันติเวชกุล. ใต้เบื้องพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มติชน; 2553.
3. นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). โครงการอัน
4. เนื่องมาจากพระราชดำริ. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 มกราคม 20]. เข้าถึงได้จาก; http://km.rdpb.go.th/Project/Page/1
5. Osisu. EMARBLE MATERIAL & STOOL. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2561 กรกฎาคม 18]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/273873142783888/posts/685828694921662/
6. TCDC. เจาะเทรนด์โลก2013. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 30]. เข้าถึงได้จาก: https://web.tcdc.or.th/th/Publication/Detail
7. dooddot. FEIT Bi-Color Series. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 สิงหาคม 22]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dooddot.com/
8. COOL HUNTING. MRKT's Sleek Vegan Backpacks and Bags. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฎาคม 12]. เข้าถึงได้จาก: coolhunting.com/design/mad-rabbit-kicking-tiger-mrkt-vegan-backpacks-bags/
9. Nel Linssen. Papieren Sieraden Paper Jewelry 2011 – 2015. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 18]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nellinssen.nl/about_my_artwork_nel_linssen.html
10. JUNA Jewelry. Sam-Tho Duong Recycled Yogurt pots. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กันยายน 19]. เข้าถึงได้จาก: https://junajewelry.files.wordpress.com/2015/04/sam-tho-duong-recycled
11. สุภาวี ศิรินคราภรณ์. โครงการวิจัย แนวทางการพัฒนาเมืองสวยด้วยการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยกรณีศึกษาภูมิปัญญาและวิถีชีวิตแห่งชุมชนบ้านแม่หมีใน จังหวัดลำปาง กับพัฒนาการการสร้างสรรค์สุนทรียภาพของเครื่องประดับชาติพันธุ์ร่วมสมัย. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม; 2552.