ประสิทธิผลของการใช้ฉลาก/ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่

Main Article Content

ศรัณญา เบญจกุล
มณฑา เก่งการพานิช

Abstract

บทนำและความสำคัญ
“ฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่” เป็นมาตรการ
หนึ่งในกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบซึ่งเป็นที่
ยอมรับเป็นสากลในระดับโลกถึงการใช้ฉลาก/
ภาพคำเตือนสำหรับการให้ความรู้และสร้างความ
ตระหนักในพิษภัยของบุหรี่และควันบุหรี่ที่นำไปสู่
การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ การควบคุมไม่ให้สูบ
บุหรี่และการทำให้ผู้สูบอยากเลิกสูบบุหรี่มากขึ้น
ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการของฉลาก/ภาพคำ
เตือนบนซองบุหรี่ระดับโลกที่ได้บรรจุเงื่อนไข
ข้อบังคับเรื่องการพิมพ์ฉลากและภาพคำเตือนอยู่
ในมาตรา 11 ของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการ
ควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (Framework
Convention on Tobacco Control: FCTC) และใน
ภูมิภาคอาเซียนมีการขับเคลื่อนกฎหมายให้มีภาพ
คำเตือนบนซองบุหรี่ในหลายประเทศ ดังนี้
ระดับโลก 1 ณ ปัจจุบันนี้ มี 63 ประเทศที่ใช้
คำเตือนบนซองบุหรี่เป็นรูปภาพ ซึ่งครอบคลุมทั้งที่
กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วและยังไม่บังคับใช้ พบว่า
47 ใน 63 ประเทศนี้ ได้กำหนดให้ภาพคำเตือนมี
ขนาดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ทั้งด้านหน้าและ
ด้านหลังของพื้นที่บนซองบุหรี่ โดย 5 ประเทศ
ลำดับแรกที่มีภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ใหญ่ที่สุด
ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย กำหนดให้ภาพคำเตือนมี
ขนาด 82.5% ของพื้นที่บนซองบุหรี่ รองลงมา คือ
อุรุกวัย และศรีลังกา กำหนดให้ภาพคำเตือนมีขนาด
80% ของพื้นที่บนซองบุหรี่ และ บรูไนและแคนาดา
กำหนดให้ภาพคำเตือนมีขนาด 75% ของพื้นที่บน
ซองบุหรี่
ระดับภูมิภาคอาเซียน 2 ณ ปัจจุบัน พบว่า
6 ใน 10 ประเทศ ได้กำหนดให้ใช้คำเตือนบนซอง
บุหรี่เป็นรูปภาพ ได้แก่ บูรไน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์
เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยประเทศไทย ถือเป็น
ประเทศลำดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ใช้
ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ โดยเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี
2548 หากแต่เมื่อพิจารณาด้วยขนาดของภาพคำ
เตือนบนซองบุหรี่ พบว่า ประเทศบูรไน กำหนดขนาด
75% และศรีลังกา กำหนดขนาด 80% ซึ่งถือเป็น
ประเทศที่มีขนาดของภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ใหญ่
ที่สุดในอาเซียน และเอเชีย
สำหรับประเทศไทย3 – 4 ได้นำฉลากคำ
เตือนบนซองบุหรี่มาใช้เป็นระยะเวลานานมาก
แล้ว โดยไทยได้เริ่มพิมพ์ฉลากคำเตือนบนซอง
บุหรี่เป็นครั้งแรกในปี 2517 หรือกว่า 30 ปีก่อน

Article Details

Section
Articles