ผลของโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม ต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม และความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: กระตุ้นน้ำนม, การไหลของน้ำนม, ความรู้, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ทารกป่วยบทคัดย่อ
น้ำนมแม่เป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ทารกแรกเกิด ที่มีภาวะความเจ็บป่วยต้องแยกจากแม่หลังคลอดในทันที อาจเป็นอุปสรรคต่อการที่ทารกจะได้รับนมแม่ ตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้น
การช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นให้มารดามีน้ำนมมาเร็ว และมีการคงไว้ซึ่งปริมาณ น้ำนมที่เพียงพอ จะทำให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม และความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือมารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษามากกว่า 4 ชั่วโมง ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ จำนวน 50 ราย เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มละ 25 ราย เครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย โปรแกรมการกระตุ้นน้ำนม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและปริมาณน้ำนม และแบบทดสอบความรู้ของมารดาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า มารดากลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเร็วกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.841, p < .01) และมีความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทารกป่วยดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(t = -4.683, p = < .001)
ผลการวิจัยนี้แสดงให้ เห็นว่าโปรแกรมกระตุ้นน้ำนม สามารถทำให้ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมเร็วขึ้น และมารดามีความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกป่วยดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่อง และทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเพิ่มมากขึ้น
References
อรพร ดำรงวงศ์ศิริ และพัตธนี วินิจะกูล. ความรู้ใหม่เรื่องนมแม่กับการเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่ในประเทศไทย.วารสารโภชนาการ 2563;55(2):15-28.
Yomsiken N. Clinical out come of early oropharyngeal colostrum in VLBW in preventing late oneset neonatal sepsis. Thai Journal of Pediatrics. 2018;57(1): 51-6.
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. Establishment of Breast feeding. ใน: ศิราภรณ์ สวัสดิวร. สรุปผลการประชุม วิชาการนมแม่ในเด็กป่วย ครั้งที่ 2. พิมพ์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไตเติ้ลพริ้นติ้ง; 2558. หน้า 14-17.
Spatz DL. Beyond BFHI: the Spatz 10-step and breastfeeding resource nurse models to improve human milk and breastfeeding outcomes. J Perinat Neonat Nur. [Internet]. 2018 [Cited 24 October 2023]; 32 (2): p.164-74. Available from: https://doi.org/ 10.1097/JPN.0000000000000339
World Health Organization. Breastfeeding [Internet]. 2023 [Cited 10 October 2023]; vailable from : www.who.int/topics/ breastfeeding/en
UNICEF 2563. Infant and young child feeding [Internet]. 2023 [Cited 10 October 2023]; Available from : https://data.unicef.org/ topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็ก และสตรี
ในประเทศไทย พ.ศ. 2565. รายงานผลฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพมหานคร: ประเทศไทย; สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2566.
กระทรวงสาธารณสุขฐานข้อมูลตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวชี้วัตอัตราการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (HDC) 2565. [อินเตอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. รายงานผลการดำเนินงาน งานเวชสถิติ ระบบ Data Center ปี2563 - 2565; 2566.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. สถิติหน่วยงานทารกแรกเกิดวิกฤต ระบบ Data Center ปี2563 - 2565; 2566.
เกรียงศักดิ จีระแพทย์. การดูแลทารกแรกเกิดตามเกณฑ์การประเมินลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย. ใน: วีณา จีระแพทย์, เกรียงศักดิ จีระแพทย์. บรรณาธิการ. หลักการการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2545. หน้า 19-25.
ศศิกานต์ กาละ. การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:บทบาทพยาบาล. สงขลา: ชาญเมือง
การพิมพ์;2561.
Chunpia, C. Anatomy and physiology of lactation and mechanism of sucking. In: Vijitsukon K, Sangperm P, Wattayu N, et al. editors. Breastfeeding. Bangkok: Pre-one; 2014; p. 63-82. Thai.
ศศิกานต์ กาละ, รังสินันท์ ขาวนาค. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดที่ทารกป่วย. ว. พยาบาล สงขลานครินทร์ [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษจิกายน 2566]; 36: 196-208.
ฐิติชาณัฐ กางการ,พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, ไข่มุก วิเชียรเจริญ. ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำต่อปริมาณ น้ำนมมารดาของทารกแรกเกิด. ว.เกื้อการุณย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566]; 21: 205-218.
อภิญญา ไชยวงศา, บุญฑริกา วงค์คม,
พัชรินทร์ เงินทอง. การสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมในมารดา ทารกเกิดกอนกำหนด:
การทบทวนอย่างเป็นระบบ. ว. พยาบาลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566]; 45:97-109.
มารียา มะแซ. ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา; มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.
ณัฏยา อ่อนผิว, ประไพรัตน์ แก้วศิริ. ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม และปริมาณน้ำนมของมารดาผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ทารกถูกแยกพักรักษาตัวในหอผู้ป่วย ทารกแรกเกิด
ว. สภากาชาดไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566]; 15:108-126. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tcithaijo.org/ index.php/trcnj/article/download/249399/177672
กนกวรรณ โคตรสังข์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, อุษา เชื้อหอม. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อ ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. ว. พยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/download/249399/177672
ทองใบ นันทรัตพันธ. ผลการใช้แนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาระยะแรกหลัง คลอด โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. ว. โรงพยาบาลแพร่ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566]; 27: 25–37
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.