ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์พรรณ อาจมาก กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก คลินิกตรวจโรคทั่วไป ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแล, เด็กโรคระบบทางเดินหายใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional survey research) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 คลินิกตรวจโรคทั่วไป คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 90 ราย ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2567 เครื่องมือประกอบด้วย
3 ส่วน 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคระบบทางเดินหายใจ 3) แบบวัดความรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคระบบทางเดินหายใจ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.80 และตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 ตอน
6 องค์ประกอบหลัก ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กที่มารับการรักษาด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 คลินิกตรวจโรคทั่วไป ด้านความรอบรู้เมื่อได้รับใบนัดเพื่อการเข้ารับการตรวจรักษาอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้ง (= 4.43, S.D = 0.65) ด้านความรอบรู้เกี่ยวกับ
การอ่านฉลากยาอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้ง (= 4.70, S.D = 0.50) และด้านความรอบรู้โรคระบบทางเดินหายใจเด็กอยู่ในระดับทำได้ทุกครั้งเช่นกัน (= 4.60, S.D = 0.65)

จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าบุคลากรทางด้านสุขภาพควรมีการส่งเสริมให้ผู้รับบริการ และผู้ดูแลเข้าถึงแหล่งความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน

References

World Health Organization. Air pollution and child health: Prescribing clean air [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2020 Apr 4]. Available from: https://www.who.int/ publications/i/item/WHO-CED-PHE-18-01

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถิติสุขภาพคนไทย [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso. or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=2&pf=01101001&tp=231

UNICEF. Pneumonia [Internet]. 2019 [cited 2022 Nov 11]. Available from: https://data.unicef.org/ topic/child-health/pneumonia/

Greige, R. S., & Laufer, P. M. (2013). Pneumonia. Pediatrics in review, 34(10), 438–456. https://doi.org/10.1542/pir.34-10-438

ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. ข้อมูลสถิติการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่: ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่; 2566

Xing YF, Xu YH, Shi MH, Lian YX. The impact of PM2.5 on the human respiratory system. J Thorac Dis 2016;8(1): E69-74.

สมพร จันทระ. โครงการการติดตามตรวจสอบการเผาในที่โล่งในภาคเหนือของประเทศไทยสำหรับการประเมินการปล่อยและการเคลื่อนที่ของมลพิษทางอากาศเพื่อการวางแผนการจัดการปัญหาหมอกควัน: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2561

วิภาธินี หน่อจันทร์, วรรณทนีย์ ภูมิอภิรดี, และกิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลการใช้โปรแกรมการสอนต่อความรู้ของ ผู้ดูแลเด็กและการเกิดซ้ำของโรคปอดอักเสบในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. ว. วิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข 2565;2(2):1–11.

Batool SH, Safdar M, Eman S. Relationship between parents' health literacy and child health: Systematic review. Library Hi Tech. 2022; ahead-of-print No: ahead-of-print.

De Buhr E, Tannen A. Parental health literacy and health knowledge, behaviors and outcomes in children: A cross-sectional survey. BMC Public Health 2020;20(1):1096

ประดับเพชร เจนวิพากษ์, วัลยา คะศรีทอง, นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. ผลของการวางแผนจำ หน่ายต่อความรู้ของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ งานผู้ป่วยในกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2565;12(2): 164-77.

จีรวรรณ์ ศิริมนตรี. ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการนิเทศทางคลินิกการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ว. โรงพยาบาลสกลนคร 2564;24(2);1-12.

Paschal, A. M., Mitchell, Q. P., Wilroy, J. D., Hawley, S. R., and Mitchell, J. B. (2016). Parent health literacy and adherence related outcomes in children with epilepsy. Epilepsy and Behavior, 56, 73-82.

Bennett IM, Robbins S, Haecker T. Screening for low literacy among adult caregivers of pediatric patients. Family Medicine-Kansas City. 2003;35(8):585-590.

คนึงนิจ วิชา, อุษณีย์ จินตะเวช, สุธิศา ล่ามช้าง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลของบิดามารดาในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนผ่าตัดหัวใจ. พยาบาลสาร. 2564;48(2):193-205.

.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, และนรีมาลย์ นีละไพจิตร.การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

นิตยาภรณ์ มงคล. Gen Y/Gen Me กลุ่มผู้กุมชะตาโลก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251#

สร้อยนภา ใหมพรม, วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2563;21(2):269-82.

ชญาน์นันท์ ใจดี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็ก. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 5 [cited 2024 Aug. 1];18(3):389-403. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ RNJ/article/view/889

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/24/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย