ผลของโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
แม่ทำงานนอกบ้าน, การเลี้ยงลูก, นมแม่บทคัดย่อ
ปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมควบคู่กับการกินนมแม่จะเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ให้บริการเลี้ยงดูเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้ลูกได้กินนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี และผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ได้ตามเป้าหมาย การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปีของแม่ที่เข้าร่วมโปรแกรมและเพื่อสำรวจความพึงพอใจของแม่ต่อการเข้าร่วมโปรแกรม โดยการทบทวน สรุปประสบการณ์การดำเนินงานเพื่อให้เห็นเหตุปัจจัยภายในและภายนอกที่ทำให้เกิดผลอย่างที่เป็นอยู่ สะท้อนในรูปแบบปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (output) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ แม่และลูกของแม่ทุกรายที่ได้รับโปรแกรม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2566 จำนวน 30 คู่แม่ลูก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลจากแฟ้มประวัติเด็กที่ได้รับโปรแกรม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล และความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยใช้การสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านมีผลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึงอายุ 2 ปีของแม่ที่เข้าร่วมโปรแกรม ได้แก่ ความเชื่อและทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากคนในครอบครัว นโยบายและสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงานแม่ และนโยบายของสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระดับความพึงพอใจของแม่ต่อโปรแกรมแม่ทำงานนอกบ้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D. = 0.35)
References
จิราภรณ์ แผลงประพันธ์. ร่วมพัฒนาเด็กปฐมวัยก่อนจะสายเกินไป [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tdri.or.th/2014/06/kt22/
World Health Organization. Breastfeeding [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2024 [cited 2024 Jul 23]. Available from: https://www.who.int/health-topics/breastfeeding
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2565, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย; 2565. น.190-198.
สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. การปกป้อง สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.พ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://multimedia.anamai.moph. go.th/news/050864/
ยุพยง แห่งเชาวนิช, กรรณิการ์ บางสายน้อย, กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. คู่มือการจัดทำมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย; 2561.
ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. ความเป็นมาสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่ (service profile). เชียงใหม่: ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่; 2566.
ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. สถิติหน่วยงานสถานเลี้ยงเด็กกลางวันสำหรับครอบครัวนมแม่, 2562-2566. เชียงใหม่: ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่; 2566.
กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวของมารดาที่มีบุตรคนแรก [อินเทอร์เน็ต]. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/buujns/article/view/4488
รัชนี พจนา, เบญจมาศ ดวงชีวัน, บุญสืบ โสโสม, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง. การสนับสนุนของสามีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ [อินเทอร์เน็ต]. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 27 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jhscph/ article/view/255784/175659
รพีวรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ, จิราจันทร์ คณฑา, นิตยา ศรีแจ่ม, รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน เจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข. 2566;3(3):95-109.
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. การป้อนนมแม่ด้วยแก้ว [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย; [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaibreastfeeding. org/th/index.php/
พูนศรี ทองสุรเดช, พัฒนา ฤกษ์ดำเนินกิจ, ประภัสสร โตธิรกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในแม่ทำงานนอกบ้านในคลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2561;8(2):202-215.
ยุพยง แห่งเชาวนิช, กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล, อังสนา วงศ์ศิริ, อัญชรี พรหมสกุล. คู่มือแม่ทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไอยรา; 2557.
วรณัน รื่นพรต, สุภาพ ไทยแท้, ปิยธิดา ศรีพงษ์สุทธิ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน. วารสารเกื้อการุณย์. 2566;30(1):110-124.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.