การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บทคัดย่อ
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ เป็นแนวทางสำคัญสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ตามนโยบายขององค์การอนามัยโลก การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score และศึกษาผลลัพธ์ความสำเร็จของแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดำเนินการระหว่าง
เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 เลือกกลุ่มศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจากแม่หลังคลอดครรภ์แรกที่เข้ารับบริการในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โดยแบ่งแม่หลังคลอดออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 50 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 จำนวน 15 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การนำแนวปฏิบัติที่ได้ไปใช้ในงานประจำโดยผู้วิจัยใช้วิธีการนิเทศทางการพยาบาล และการประเมินผลหลังการใช้โดยให้พยาบาลประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ และประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามประเมินผลลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวในระยะ 24 ชั่วโมงก่อนจำหน่าย แบบสอบถามประเมินระดับความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่หลังคลอดก่อนจำหน่าย แบบสอบถามประเมินผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในวันมาตรวจตามนัดที่อายุ 7 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วย Pair t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Independent T-test ผลการศึกษาพบว่าหลังจากการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลให้สอดคล้องกับ LATCH Score เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่งผลให้แม่หลังคลอดมีคะแนน C (รู้สึกสบายเต้านมและหัวนม)
สูงกว่าหรือพบปัญหาเจ็บหัวนมน้อยกว่า มีระดับความมั่นใจของแม่เรื่องความพอเพียงของน้ำนมแม่มากกว่า ทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวหลังจำหน่ายถึงอายุ 7 วันมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
สรุปได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถช่วยให้แม่มั่นใจเรื่องความพอเพียงของน้ำนมแม่ และส่งผลให้หลังจำหน่ายสามารถให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวถึง 7 วันเพิ่มขึ้น
References
National Statistical Office of Thailand. Final report Thailand survey situation children and women in Thailand 2015-2016 [revised edition 1 July 2017] [Internet]. 2017 [cited 2019 Oct 23]. Available from: http://www.ratchakicha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/072/1.PDF (in Thai)
ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. รายงานสถิติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำปี [Internet]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธ.ค. 10]. เข้าถึงจาก: www.hpc1.go.th (in Thai)
ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก (Clinical Practice Guidelines Development). วารสารการพยาบาล 2548;20(2):เมษายน-มิถุนายน.
ฟองคำ ดิลกสกุลชัย. การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์:หลักการและวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
Stetler CB. Updating the Stetler Model of Research Utilization to Facilitate Evidence Based practice. Nurse Outlook 2001;49(6):272-9.
Rosswurm MA, Larrabee JH. A model for change to evidence-based practice. J Nurs Scholarsh 1999;31(4):317-22.
Souk SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.
กรองทิพย์ ปินะกาโน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่มารับบริการที่งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมรัตน์ [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
สุนิสา ปัทมาภรณ์พงศ์, สิรินธร สงวนเจียม. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลแพร่. (PMJCS) Phrae Medical Journal and Clinical Sciences. 2022;30(2):71-86.
Jeenlakroy N, Phahuwatnakorn W, Limruangrong P. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับผู้ดูแลต่อการรับรู้ความไม่เพียงพอของน้ำนมและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ 1 เดือนในมารดาผ่าตัดคลอด. Nurs Sci J Thai
ลำพงษ์ ศรีวงค์ชัย, และคณะ. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกและครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2021;18(3):99-112.
ธีรวุฒ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2543.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ โครงการผลิตตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2015. (in Thai)
Likert RA. New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill; 1961.
Weiss ME, Ryan P, Lokken L. Validity and reliability of the perceived readiness for discharge after birth scale. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs. 2006;35(1):34-45.
ลมัย แสงเพ็ง. การพัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565;2(1):55-66.
สุจิตรา ยวงทอง, วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์, วรรณี เดียวอิศเรศ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับมารดาหลังคลอดบุตรคนแรกต่อระยะเวลาและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2021;7(2):100-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.