ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความตั้งใจและ พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความตั้งใจและ พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร โตธิรกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่1
  • จงรศา ภูมาศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • ปิยะนุช ชูโต prapassorntotirakul@gmail.com
  • ลวิตรา เขียวคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ปัญหาหัวนมและเต้านม

บทคัดย่อ

องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายว่าควรเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างเดียว
อย่างน้อย 6 เดือน และควรเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องร่วมกับอาหารตามวัยจนถึง 2 ปีหรือมากกว่า ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2568 ว่าทารกร้อยละ 50 ควรจะได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน อย่างไรก็ตาม การสำรวจพบว่ามารดาชาวไทยมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตลอด 6 เดือนแรกต่ำกว่าเป้าหมาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความตั้งใจและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรกที่มีปัญหาหัวนมเต้านมเล็กน้อยที่ยังสามารถให้นมบุตรได้ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลังในกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดบุตรครรภ์แรกที่เข้ารับการรักษาที่ตึกสูติกรรมและได้รับการส่งต่อมายังคลินิกนมแม่ในช่วงการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 30 คน
ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล
แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบประเมินความตั้งใจ และแบบสังเกตพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความตรงเชิงเนื้อหาของโปรแกรมเท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงและทดสอบการกระจายของข้อมูลด้วย Shapiro–Wilk test ซึ่งพบว่าข้อมูลมีการกระจายปกติ ใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบก่อนและหลัง

ภายหลังได้รับโปรแกรม คะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 3.41 เป็น 4.10 (p < 0.05) อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากค่าเฉลี่ย 4.77 เป็น 4.93 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่พฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=28.721, p<.05) โดยมารดาทุกคนสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหลังจากได้รับโปรแกรม เช่น เทคนิคการนำลูกเข้าเต้า และท่าอุ้มให้นม ดังนั้น โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น แม้ว่าการเพิ่มความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ประสิทธิผลโดยรวมของโปรแกรมแสดงให้เห็นว่าควรนำไปใช้เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาลอื่น

References

UNICEF [Internet]. Breastfeeding: Too few children benefit from recommended breastfeeding practices 2023 [cite 2023 Dec 24]. Available from: https://data.unicef.org/ topic/nutrition/breastfeeding/.

UNICEF [Internet]. National survey shows progress in breastfeeding, adolescent births and violence, but worrying trends in education and child development 2023 [update 2023 July 10; cited 2023 Dec 24]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/press-releases/national-survey-shows-progress-breastfeeding-adolescent-births-and-violence-worrying.]

สำนักสถิติแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน; c2563. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2563]; [น. 164]. เข้าถึงได้จาก https://www.nso.go.th/ nsoweb/storage/ survey_detail/2023/20230501015034_47538.pdf

มยุรา เรืองเสรี, วราทิพย์ แก่นการ. การศึกษาปัจจัยทำนายระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. ธ.ค. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2563];37:1-14. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/181946/128902

ฝนทอง จิตจำนง, สมจิตร เมืองพิล, นิลุบล

รุจิรประเสริฐ. คุณลักษณะของมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลาและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนหลังคลอดได้สำเร็จ [อินเตอร์เน็ต]. ม.ค. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2563];5(1):68-80. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/ article/view/247184/168708

Ahmad RS, Sulaiman Z, Nik Hussain NH, Mohd Noor N. Working mothers’ breastfeeding experience: a phenomenology qualitative approach. BMC Pregnancy Childbirth [Internet]. 2023 Dec [cited 2022 Jan 31];22(1):85.[about 1 screen]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35100980/

Mohammed S, Yakubu I, Fuseini AG, Abdulai AM, Yakubu YH. Systematic review and meta-analysis of the prevalence and determinants of exclusive breastfeeding in the first six months of life in Ghana. BMC Public Health [Internet]. 2023 May 19 [cited 2023 Dec 24];23(1):920.[about 1 screen]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37208682/

Bandura A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997.

Erdfelder E, Faul, F, & Buchner, A. G*Power: A general power analysis program. Behav Res Methods Instrum Comput [Internet]. 1996 [cited 2023 Dec 24]; 28(1):1-11.[about 1 screen]. Available from: https://link.springer.com/ article/10.3758/BF03203630

Burns N, & Grove, SK The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence 6th ed.): Saunders.; 2009.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1987.

Blyth R, Creedy DK, Dennis CL, Moyle W, Pratt J, De Vries SM. Effect of maternal confidence on breastfeeding duration: an application of breastfeeding self-efficacy theory. Birth [Internet]. 2002 Dec [cited 2023 Dec 24];29(4):278-84.[about 1 screen]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 12484390/

Wallenborn JT, Perera RA, Wheeler DC, Lu J, Masho SW. Workplace support and breastfeeding duration: The mediating effect of breastfeeding intention and self-efficacy. Birth [Internet]. 2019 Mar [cited 2023 Dec 24];46(1):121-128. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov /30051503/

Zhuang J, Bresnahan M, Zhu Y, Yan X, Bogdan-Lovis E, Goldbort J, et al. The impact of coworker support and stigma on breastfeeding after returning to work. Appl Commun Res [Internet]. 2018 July [cited 2023 Dec 24];46(4):1-18. Available from: https://doi.org/10.1080/ 00909882.2018.1498981

ศศิมา ศรีเพ็ชร, ศศิกานต์ กาละ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเตอร์เน็ต]. ส.ค. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2563];37:26-39. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/244433/173147

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/19/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย