ชุดหน้ากากชนิดแรงดันบวกทางทันตกรรม

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ วินิจจะกูล -
  • แมนสรวง วงศ์อภัย ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ กรมอนามัย
  • ดนพัทธ์ ปัญญาชัย ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ จังหวัดเชียงใหม่ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

หน้ากากแรงดันบวก, ทันตกรรม, โควิด-19

บทคัดย่อ

การรักษาทางทันตกรรม เป็นงานหัตถการเฉพาะทางที่ทันตแพทย์ให้การรักษาบริเวณช่องปาก ซึ่งจะมีการแพร่กระจายของละอองสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำลาย เป็นต้น เมื่อมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ
จึงสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อมากขึ้น เนื่องจากอาการป่วยจากไวรัสชนิดนี้มีความรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ และในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว เกิดการขาดแคลนของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ทำให้มีราคาสูงและต้องหาอุปกรณ์ชนิดอื่นมาใช้งานทดแทน โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ผลิตชุดหน้ากากชนิดแรงดันบวกที่ใช้งานทางทันตกรรมได้และพัฒนานวัตกรรมที่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคหรือ Covid-19 ในคลินิกทันตกรรม ผลการทดสอบพบว่า ประสิทธิภาพด้านแรงดันอากาศมีค่าสูงสุดอยู่ที่ +31Pa และต่ำสุด +29 Pa โดยมีค่าเฉลี่ย +30 Pa ค่าประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน ตามมาตรฐาน ASTEM F2299-03 วัดค่าได้ 98.53% ส่วนค่าประสิทธิภาพความแนบกระชับ มีค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 81.81% เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ชุดหน้ากากกรองอากาศชนิดมีแบตเตอรี่แบบพกพาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดพบว่า เป็นหน้ากากชนิดแรงดันบวกเหมือนกันแต่นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นพกพาได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยท่อนำอากาศจากเครื่องกรองอากาศเนื่องจากเป็นวัสดุหน้ากากเพียงชิ้นเดียว อีกทั้งไม่ต้องใช้สายรัดตัวแบตเตอรี่และชุดกรองอากาศไว้บริเวณเอว ซึ่งส่งผลต่อท่าทางการนั่งใน
การรักษาทางทันตกรรม และยังมีราคาต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่ต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่ยังพบปัญหาของนวัตกรรมที่ควรจะต้องพัฒนา คือ น้ำหนักของนวัตกรรมเมื่อสวมใส่ทางศีรษะแล้วยังมีน้ำหนักที่มากเกินไป ส่งผลต่อความเมื่อยล้าของผู้ใช้เมื่อใช้งานเป็นเวลานานและส่วนของความแนบกระชับระหว่างวัสดุกับใบหน้าที่ต้องทำให้แนบกระชับพอดีมากขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของอนุภาคขนาดเล็กเข้ามาภายในชุดหน้ากาก

References

World Health Organization [Internet]. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. [cited 2021 Jun 15]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน, กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. [ออนไลน์]. (9 กันยายน 2564.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no615-090964.pdf

แนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมในสถานการณ์ COVID-19. [ออนไลน์]. (14 พฤษภาคม 2563.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaidental.or.th/main/download/upload/upload-204211344051371.pdf

คณิตตา ธรรมจริยวงศา. แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไออน. [ออนไลน์]. (11 กันยายน 2562.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จากhttp://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/bp-attachments/12142/แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน.pdf

American Test and Materials Association. Standard Test Method forDetermining the Initial Efficiency of Materials Used in Medical Face Masks to Penetration by Particulates UsingLatex Spheres; 2017 [cited 2021 Jun 15]. Available from: https://cdn.standards.iteh.ai/ samples/97290/6b3f91b95e01471aaf3a537314c13324/ASTM-F2299-F2299M-03-2017-.pdf

OSHA. Working Safely with Nanomaterials. U.S. Department of Labour, Occupational Safety and Health Administration; 2013 [cited 2023 Jun 13]. Available from: https://www.osha.gov/Publications/OSHA_FS-3634.pdf

Wongkamhang A, Anupongongarch P. Design and construction of a low-cost, powered air purifying respirator in accordance with EN129mnjk42 standard for healthcare professionals. ใน: อนันต์ตศักดิ์ วงศ์คำแหง และปรียา อนุพงษ์องอาจ. การออกแบบและสร้างเครื่องปกป้องทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์ราคาถูกตามมาตรฐาน EN12942 สำหรับบุคลากรณ์ทางการแพทย์

นาโนเทค สวทช. พัฒนา nSPHERE หมวกแรงดันบวก-ลบ ตอบโจทย์วิกฤตโควิด-19. [ออนไลน์]. (2 กันยายน 2564.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/home/news_post/covid-19-nsphere//

หน้ากากความดันบวกชนิดพกพา น้ำใจ กฟผ. สู่คุณหมอและพยาบาลทั่วประเทศ. [ออนไลน์].(14 พฤษภาคม 2563.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จากwww.egat.co.th/home/หน้ากากความดันบวกชนิดพ/

สยามรัฐ. ชุดหน้ากาก PAPR ฝีมือไทยชุดเกราะพร้อมรบโควิด-19 กู้วิกฤตทดแทน n95. [ออนไลน์]. (5 มีนาคม 2564.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/featured-stories/262/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/08/2024

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป/บทความวิชาการพิเศษ