การประเมินการใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุ Blue Book Application ในเขตสุขภาพที่ 1 ปี 2566

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลิน บัวแก้ว -
  • ณษิดา จันต๊ะมา

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ประสิทธิภาพ; ประสิทธิผล; ความพึงพอใจ; แอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

กรมอนามัยได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้า เพื่อให้บริการเก็บข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยผู้ใช้งานสามารถเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาโรค และการตรวจสุขภาพ สำหรับบันทึกสุขภาพที่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขสามารถเข้าถึงได้ ทำให้การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเชิงรุกครอบคลุมและมีคุณภาพ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้งาน ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจ ของผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 1  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกลุ่มเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 726 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ผ่านระบบออนไลน์มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วงคะแนน 0.60 -1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณณาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 88.43 มีอายุเฉลี่ย 59.50 ปี (S.D=12.46)                 การศึกษาระดับปริญญาตรี/อนุปริญญา ร้อยละ 49.31  มีพฤติกรรมการใช้งานโดยรู้จักแอพพลิเคชั่นผ่านช่องทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำ และมีความถี่ในการใช้งานแอพพลิเคชั่น เดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความพึงพอใจการใช้งานแอพพลิเคชั่นฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการใช้งานของแอพพลิเคชั่น อยู่ในระดับปานกลาง (3.28 ± 0.95 , 3.25 ± 0.92, 3.23 ± 0.89 และ 3.06 ± 0.92 ตามลำดับ)  ด้านประสิทธิผลของการใช้งาน พบว่ากลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีความคิดเห็นในระดับมาก (3.59 ± 0.77, 3.80 ± 0.84, 3.52 ± 0.83 และ
3.50 ± 0.86 ตามลำดับ) ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้งาน พบกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
มีความคิดเห็นระดับมาก (3.52 ± 0.91, 3.72± 0.84 และ 3.44 ± 0.86 ตามลำดับ)  กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยด้านความคิดเห็นต่อประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจต่อการใช้งานแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน

                 จากผลการศึกษาควรมีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุให้ตอบสนองต่อการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม เพื่อให้สามารถนำข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นสมุดสีฟ้าผู้สูงอายุมาประยุกต์ในการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มผู้ใช้งานในแต่ละภาคส่วน โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพกลุ่มผู้สูงอายุ

References

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2565. กรุงเทพฯ:บริษัทอมรินทร์คอร์เปอเรชั่นส์จำกัด(มหาชน); 2565

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล,สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.วารสารข้าราชการ; 2561. 12

สุมิตรา โพธิ์ปาน, ปัทมา สพรรณกุล. การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลพุทธชินราช. เวชสาร ; 2562; 36(1), 128 – 136.

กองสถิติเศรษฐกิจ. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานประกอบการ พ.ศ. 2561.กรุงเทพฯ : สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม; 2561.

Yamane, T. Statistics an introductory analysis.Harper & Row.; 1973.

Likert, R., “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. Wiley & Son; 1967.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. รายงานข้อมูลการใช้งานของ Blue Book Application เรื่อง การคัดกรองพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ การคัดกรองภาวะถดถอย 9 ด้าน. ปี 2565 . สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566, จาก https://bluebook.anamai.moph.go.th/; 2566.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. คู่มือการใช้งานสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท จีดี โปรดักชั่น จำกัด; 2564.

undealao S, Titiloye T, Sajja A, Egab I, Odole I, Alufa O, et al. Factors associated with the non-use of mobile health applications among adults in the United States [อินเทอร์เน็ต]. J Public Health (Berl.) [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566] เข้าถึงได้จาก: https://doi.org/10.1007/s10389-023-02132-8; 2023.

วรรณรัตน์ ลาวัง, อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน, จักริน สุขสวัสดิ์ชน, อโนชา ทัศนาธนชัย. โครงการการพัฒนาแอพพลิเคชั่น‘สมาร์ทการดูแล’เพื่อสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหว.รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2562.

วิไลลักษณ รักบํารุง และ ปรเมษฐ แสงออน.ปจจัยที่มีอิทธิพลตอการยอมรับการใชงานแอปพลิเคชันสําหรับผูสูงอายุ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ [Internet]. ;2022 Dec. 27 [cited 2024 Jul. 27];7(2):7-23. Available from: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journalcim/article/view/244042

Wang C, Qi H. Influencing Factors of Acceptance and Use Behavior of Mobile Health Application Users: Systematic Review. Healthcare (Basel). Published 2021 Mar 22. doi:10.3390/healthcare9030357; 2021;9(3):357.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/13/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย