ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เปรมกมล ศิริมงคล หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วราภรณ์ บุญเชียง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, พฤติกรรมการฉันภัตตราหาร, ภาวะโภชนาการ

บทคัดย่อ

พระสงฆ์ถือเป็นผู้มีความสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนา แต่ยังพบว่าพระสงฆ์มีปัญหา          ทางสุขภาพโดยเฉพาะป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดและภาวะไขมันในเลือดสูงซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการฉันภัตตาหารและการมีพฤติกรรมเสี่ยง              เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มชูกำลังและขาดการออกกำลังกาย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นผู้ป่วย                  รายใหม่ได้ ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร ภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ และศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ทำการวิจัยแบบภาคตัดขวางและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านรูปแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ พระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดย                ไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้การสุ่มตามความสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 รูป วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการแบบพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบ              ไคสแควร์ การทดสอบฟิชเชอร์ และการสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์มีพฤติกรรมการฉันภัตตาหารเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.43
ด้านภาวะโภชนาการ พบว่า ส่วนใหญ่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ 64.51 (n=200) และภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 35.49 (n=110) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร พบว่า จำนวนพรรษา ระดับการศึกษาทางโลกและระดับการศึกษาทางธรรม(แผนกบาลี) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป และภาวะโภชนาการ พบว่า ข้อมูลทั่วไปไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการ และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฉันภัตตาหาร และภาวะโภชนาการ โดยใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวแทน ของภาวะโภชนาการ พบว่า พฤติกรรมการฉันภัตตาหารไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของพระสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

References

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทาง การอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.). พิมพ์ครั้งที่4. นางวิมล บ้านพวน, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2564.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี พ.ศ. 2565 [อินเทอรเน็ต]. นครปฐม :สำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ ; 2565 [เขาถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566].เขาถึงได้จาก https://www.onab.go.th/ th/content/category/detail/id/1278/iid/41469

วัดส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2566). ทะเบียนวัด. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย [อินเทอรเน็ต]. นนทบุรี : สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย [เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน 2566] เขาถึงได้จาก https://healthtemple.anamai. moph.go.th

HDC - Dashboard – กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถานะสุขภาพ กลุ่มพระสงฆ์-สามเณร.กระทรวงสาธารณสุข. [อินเทอรเน็ต]. กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข [เข้าถึงเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2566]เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph. go.th/hdc/main/index.php

กลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ. องค์ความรู้อาหารและโภชนาการสำหรับพระสงฆ์และฆราวาส. พิมพ์ครั้งที่1. นายสุพจน์ รื่นเริงกลิ่น, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและผู้สูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

เตชภณ ทองเติม, จีรนันท์ แก้วมา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการฉันภัตตาหารของพระภิกษุสูงวัยในจังหวัด ศรีสะเกษ. วรสารจุฬานาครทรรศน์. 2562;10:5017-5032.

พระชุมพล ตันวัฒนเสรี, และลุยง วีระนาวิน. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะของพระสงฆ์ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2557;3: 48-58.

รัชนู ปินตาดง, ธนภพ โสตรโยม. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ในวัดเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วรสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 2560;1:119-126.

ศนิกานต์ ศรีมณี, ชนิดา มัททวางกูร, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, ระชี ดิษฐจร, พรรณี ตรังคสันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;37:22-38.

ปัณณธร ชัชวรัตน์. รูปแบบการสงเสริมพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ.วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2561;8:167-178.

พีระพล หมีเอี่ยม, และธนัช กนกเทศ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ในเขตอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 2563;3:1-12.

จงจิตร อังคทะวานิช, ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์, วาสินี วิเศษฤทธิ์, จินต์จุฑา ประสพธรรม และดลพรรษ พันธุ์ พาณิชย์. สถานการณ์ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์ จากโครงการ “สงฆ์ไทยไกลโรค”. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2559.

ศราวิณ ผาจันทร์, เบญจา มุกตพันธุ์. สุขภาวะพระสงฆ์: ภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;6:552-561.

เจษฎาภรณ์ สุธรรม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และภาวะสุขภาพของพระสงฆ์ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย