ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับบริการ ในคลินิกสุขภาพผู้ใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
บทคัดย่อ
ทั่วโลกมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึงหนึ่งพันล้านคนและคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. 2568 จะมีประชากร วัยผู้ใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงถึง 1.56 พันล้านคนโดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงประมาณ
8 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม
และพัฒนาทักษะให้เกิดความรอบรู้ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกสุขภาพผู้ใหญ่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจำนวน 70 คน ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ที่ประยุกต์จากแนวคิดการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของรศ.ดร.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง มีกิจกรรมฝึกทักษะ 5 ด้านได้แก่ ทักษะการเข้าถึง (access) ทักษะการสร้างความเข้าใจ (understand) ทักษะการไต่ถาม (questioning) ทักษะการตัดสินใจ (make decision) และทักษะการนำไปใช้ (apply) โดยการจัดกระบวนการอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะสวนบุคคล ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ คาเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูงสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังมีค่าเฉลี่ยความดันโลหิต ซีสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น จากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้กลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคเพิ่มขึ้นและระดับความดันโลหิตลดลง
References
World Health Organization regional office for South–East Asia. (2011). Hypertension Fact Sheet. Retrieved May 1, 2016, Available from http://www.searo.who.int/entity/Noncommunicablediseases/media/non_communicable_diseases_hypertension_fs.pdf.
World Health Organization regional office for Europe. (2013). Health literacy: The solid facts. Denmark: Author. Retrieved May 1, 2016, Availablefromhttps://iris.who.int/handle/10665/326432
ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 นครสวรรค์. รายงานผลการตรวจราชการประเด็นสุขภาพวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 3. สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขกรณีปกติ เขตสุขภาพที่ 3 รอบที่ 1 /2564; 23-25 มีนาคม 2564; นครราชสีมา.
ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, และสราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก.(อินเทอร์เน็ต). 2562 (เข้าถึงเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/document/ประเด็นสารวันความดันโลหิตสูง_62.pdf.
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข). (อินเทอร์เน็ต). 2559 (เข้าถึงเมื่อ 8 มิถุนายน 2564). เข้าถึงได้จาก: https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=4540.
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.2562;1:498-506.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป.เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กระบวนการ ปฏิบัติการ เครื่องมือประเมิน.กรุงเทพฯ: ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์; 2564.
อรุโณทัย ปาทาน, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลเมืองปทุมธานี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 2563;2:216-28.
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว และวัชรีวงค์ หวังมั่น. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน.(อินเทอร์เน็ต). 2563 (เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org.
นายชัยณรงค์ บุรัตน์, นางอรชร สุดตา และนายสวัสดิ์ งามเถื่อน. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงบ้านไร่ขี ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. (อินเทอร์เน็ต). 2562(เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph. go.th/amno_new/files/1p16.pdf
อารยา เชียงของ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. (อินเทอร์เน็ต). 2561 (เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก: http://bsris.swu.ac.th
รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. (อินเทอร์เน็ต). 2560 (เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564). เข้าถึงได้จาก: http://library.christian.ac.th/thesis/document/T042134.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.