การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ผู้แต่ง

  • สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม, ผลกระทบสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุข, ฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน, PM2.5

บทคัดย่อ

ปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอชายแดนซึ่งประสบปัญหาหมอกควันข้ามแดน การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ของ อสม.พื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5 ของ อสม. และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ระยะที่ 2 พัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และ ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น อสม. จำนวน 60 คน และประชาชนกลุ่มเสี่ยง 60 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประธาน อสม. และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวม 50 คน โดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน Paired t-test กับ Pearson correlation วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. อยู่ในระดับมาก
  2. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของ อสม. พบว่า ก่อนการพัฒนาความรอบรู้อยู่ในระดับมาก หลังพัฒนามีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
  4. ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลัง อสม.ที่ผ่านการพัฒนาฯ ลงเยี่ยม พบว่า ก่อน อสม.เยี่ยม ความรอบรู้อยู่ในระดับปานกลาง หลัง อสม.เยี่ยม ความรอบรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ก่อนและหลัง อสม.เยี่ยม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
  5. รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของ อสม. มีองค์ประกอบ คือ 1) ด้านปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอก เช่น ด้านนโยบาย เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และปัจจัยภายใน คือ ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล และการตัดสินใจข้อมูล  2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ การหาความรอบรู้ การสร้างคู่มือพัฒนาความรอบรู้ การประเมินช่องว่างความรอบรู้ การพัฒนาความรอบรู้ และการประเมินผลการพัฒนา 3) ด้านผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ ความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. และความรอบรู้ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ในด้านความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเที่ยงตรงอยู่ในระดับมากที่สุด

Author Biography

สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

ดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับชำนาญการพิเศษ

References

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. แหล่งกำเนิด ผลกระทบและรูปแบบจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 (2563) : 461-473.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. การประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณี PM2.5. เชียงราย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย; 2565.

Khaw-ngern K, Khaw-ngern C. & Udomphol P.. PM 2.5 and Impacts of Air Pollution on Ecosystem: Buddhist Perspective. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies Vol. 5 No. 1 (2020): 132-154.

กองแผนงาน กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การจัดทำสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน. นนทบุรี: กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ธวัชชัย วรพงศธร และสุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 (2561); 11-21.

วิชัย ศรีผา. การพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2565); 29-39.

อมาวสี พัมพันศิริรัตน์, พิมพิมล วงศ์ไชยา. การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 36 ฉบับที่ 6 (2560); 192-202.

Stringer, ET. Action Research (Third Edition). Los Angeles: Sage; 2007.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2551

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/08/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย