ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะต่อความรุนแรงของ โรคข้อเข่าเสื่อมและน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ อุตรสัก -

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ, โรคข้อเข่าเสื่อม, น้ำหนักเกิน, โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ

บทคัดย่อ

โรคข้อเข่าเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น การให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกิน จะช่วยเสริมสร้างภาวะสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวเกิน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจงกับผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ที่มารับการรักษาที่ห้องตรวจกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ถึงกรกฎาคม พ.ศ.2566 แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม และแบบบันทึกน้ำหนักตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Paired Samples t-test และ Independent samples t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักตัวเกิน หลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของโรค และน้ำหนักตัวลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่าระดับรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม และค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีน้ำหนักเกินในกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

กล่าวได้ว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพในการลดระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมและมีน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น

References

Hawker GA. The Challenge of Pain for Patients with OA. HSS J 2018; 28 (1): 42-44.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2562). สปสช.ออกแนวปฏิบัติผ่าข้อเข่าเสื่อม กระจายอำนาจให้ เขตช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษา. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2566. [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MjA0OQ=

วิโรจน์ กวินวงศ์โกวิท. โรคข้อเข่าเสื่อม.คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2558.

จันทราภรณ์ คำก๋อง, นพวรรณ เปียซื่อ และกมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. ผลของโปรแกรมควบคุมนํ้าหนัก โดยการใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชนต่อภาวะโภชนาการ และอาการปวดเข่าของผู้สูงอายุน้ำหนัก เกินที่มีอาการปวดเข่า. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560, 29 (3): 8-18.

แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน. สถิติเวชระเบียน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน ปี 2563 – 2565. ลำพูน: แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำพูน; 2565.

Wright EA, Katz JN, Cisternas MG, Kessler CL, Wagenseller A, Losina E. Impact of knee osteoarthritis on health care resource utilization in a US population-based national sample. Med Care 2020; 48 (9): 785-791.

Fisher WA, Fisher JD, Harman J. The Information-Motivation- Behavioral Skills Model: A General social psychological approach to understanding and promoting health and illness. Malden: Blackwell; 2013.

Teixeira PJ, Silva MN, Mata J, Palmeira AL, Markland D. Motivation, self-determination, and long-term weight control. Int J Behav Nutr Phys Act 2021; 18 (2): 22-35.

บุญเรียง พิสมัย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2557; 42(2): 54 – 67.

Bellamy N, Wilson C, Hendrikz J, Whitehouse SL, Patel B, Dennison S, Davis T. Osteoarthritis Index delivered by mobile phone (m-WOMAC) is valid, reliable, and responsive. J Clin Epidemiol 2017; 64 (2): 182-190.

ธนพงศ์ แสงส่องสิน และชนนท์ กองกมล ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบเพิ่มแรงต้านต่อความรุนแรงของโรคและสมรรถภาพข้อเข่าในชาวสวนยางพาราสูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม.เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก 2560; 70 (3): 139-147.

นฤมล ลำเจริญ, ชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข และมุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารการพยาบาลและการดูสุขภาพ 2561; 36 (3): 107-115

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/05/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย