ประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ สำหรับส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ในพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน

The Effectiveness of Using Application KAOTAJAI for Promoting Physical Activity in Employees of a Company in Lamphun Province.

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ บุญกองรัตน์ HPC1
  • ภัทรพร สิทธิเลิศพิศาล

คำสำคัญ:

การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย, แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ, พนักงานบริษัท

บทคัดย่อ

การทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ในสถานประกอบการ พบว่าผู้หญิงมีกิจกรรมทางกายน้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอส่งผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัยได้จัดทำแอปพลิเคชันก้าวท้าใจเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ประกอบด้วยทั้งข้อมูลความรอบรู้ การบันทึก การแปลผลกิจกรรมการออกกำลังกายให้มีความหมายที่ประชาชนสามารถเข้าใจง่าย รวมถึงของรางวัลที่เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนสนใจในการออกกำลังกายมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจ สำหรับส่งเสริมกิจกรรมทางกายในพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานเพศหญิง จำนวน 50 คน มีการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน ในการวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามระดับกิจกรรมทางกาย (GPAQ Version2) และทดสอบสมรรถภาพทางกายตามวิธี YMCA Step Test โดยกลุ่มทดลองออกกำลังกายและบันทึกผลในแอปพลิเคชันก้าวท้าใจ กลุ่มควบคุมออกกำลังกายและบันทึกผลลงในสมุดบันทึก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำข้อมูลจาก GPAQ Version2 มาคำนวณหาค่าการใช้พลังงาน (Metabolic equivalent : MET) ของกิจกรรมทางกาย และค่าอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบYMCA Step Test ทดสอบการกระจายตัวของข้อมูลโดยใช้ Kolmogorov-Smirnov Test พบว่ามีการแจกแจงไม่ปกติ (p < 0.05) จึงใช้สถิติ Wilcoxon Singed Rank Test เปรียบเทียบค่า MET ของกิจกรรมทางกายและค่าอัตราการเต้นของหัวใจก่อนและหลังภายในกลุ่มอาสาสมัคร และใช้ Mann-Whitney U Test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบค่า MET ก่อนและหลังภายในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยหลังการได้รับโปรแกรมมีค่า MET เพิ่มขึ้น แต่กลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) สำหรับค่า MET ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) แต่ค่าอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบ YMCA Step Test มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยอาสาสมัครกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังการทดสอบ YMCA Step Test น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ผลการวิจัยนี้สรุปได้ว่า การใช้แอปพลิเคชันก้าวท้าใจในการบันทึกผลการกิจกรรมทางกายช่วยส่งเสริมให้พนักงานบริษัทมีความกระตือรือร้นและมีวินัยในการออกกำลังกาย และส่งเสริมให้มีสมรรถภาพทางกายเพิ่มขึ้น

References

นันทวัน เทียนแก้ว, ชัยรัตน์ ชูสกุล และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์. การศึกษาปัจจัยทางทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีกิจกรรมทางกายของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2562; 20(2), 98-108.

ประสิทธิ์ กมลพรมงคล, ยุวดี รอดจากภัย บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และอนามัย เทศกะทึก. แนวทางการจัดการส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับพนักงานในสถานประกอบการ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 12(1), 51-61.

Yoshimi Fukuoka, Judith Komatsu, Larry Suarez, Eric Vittinghoff, Willian Haskell and Tina Noorishad & Kristin Pham. The mPED randomized controlled clinical trial: applying mobile persuasive techmologies to increase physical activity in sedentary women protocol. BMC Public Health. 2011; 11, 933. doi: 10.1186/1471-2458-11-933.

Carla F. J. Nooijen, Victoria Blom, Örjan Ekblom1, Emerald G. Heiland1, Lisa-Marie Larisch1, Emil Bojsen-Møller, et al. The effectiveness of multi-component interventions targeting physical activity or sedentary behaviour amongst office workers: a three-arm cluster randomized controlled trial. BMC Public Health. 2020; 20, 1329. https://doi.org/10.1186/s12889-020-09433-7

Liam G Glynn, Patrick S Hayes, Monica Casey, Fergus Glynn, Alberto Alvarez-Iglesias, John Newell, et al. Effectiveness of a smartphone application to promote physical activity in primary care. British Jourmal of General Practice. 2014; 64 (624), 384-391.

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตรคลินิกไร้พุง สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2565.

วริศ วงศ์พิพิธ, ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์ และสิทธา พงษ์พิบูลย์. กิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่ง: แนวทางและการประเมิน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 2563; 21(1), 7-21.

พรรณนภา ไร่กลาง, ราณี วงศ์คงเดช. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมกจิกรรมทางกายโดยประยุกต์ใช้แนวคดิการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(3): 1-13.

มณฑล หวานวาจา, สงกรานต์ กัญญมาสา. ผลของโปรแกรม 7 สัปดาห์สร้างสุขภาพดีมีชีวิตชีวาที่มีต่อสภาพทางร่างกาย สมรรถภาพทางกาย ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนเป็นต้นแบบสุขภาพ ของบุคลากรสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. [ออนไลน์]. (ม.ป.ท.). [เขาถึงเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hp.anamai. moph.go.th/th.

กุลธิดา บรรจงศิริ, วรวิช นาคแป้น, ศรุดา จิรัฐกุลธนา, อารยา ประเสริฐชัย, ปธานิน แสงอรุณ, พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกาย พฤติกรรมนั่งอยู่กับที่ต่อภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. SAU JOURNAL OF SCIENCE & TECHNOLOGY. 2566; 9(1): 1-15.

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต]. (ม.ป.ท.). [เขาถึงเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/TPAK.Thailand.

มนชาย ภูวรกิจ, ธนัญชัย เฉลิมสุข, ปรีชา ทับสมบัติ. รูปแบบการออกกำลังกายผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความสามารถในการออกกำลังกายด้วยตนเองของผู้สูงอายุ. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2565; 9(1): 118-137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/08/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย