ประเมินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สู่การปฏิบัติของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • จิตนิภา ขุมเพชร ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์
  • พรทิพย์ โชคทวีพาณิชย์ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กรมอนามัย
  • นพวรรณ ศรีชมพู ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กรมอนามัย

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อในบุคลากร โดยนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงจากแอปพลิเคชัน Thai Save Thai (TST) และการสัมภาษณ์เชิงลึกมาใช้ในการดำเนินงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดและการปฏิบัติตามมาตรการ Distancing, Mask wearing, Hand washing, Temperature, Testing, Application (DMHTTA) ของบุคลากรศูนย์ฯ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การ แจกแจงความถี่และร้อยละ ใช้สถิติทดสอบด้วย chi square และ Fisher’s exact test ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ผลตาม CIPP Model

ผลการวิจัยพบว่า จากการประเมินความเสี่ยง TST พบกลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงเพียง 1 ใน 200 คน
มีอาการหายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก วิเคราะห์รายเดือนเปรียบเทียบมาตรการป้องกันความเสี่ยงระหว่าง
กลุ่มตัวอย่างที่อยู่โรงพยาบาลกับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่กลุ่มอื่น ๆ พบว่า ในเดือนที่ 1, 2, 4 และ 5 ทั้งสองกลุ่มมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเดือนที่ 3 ที่มีการเดินทางไปในที่มีความเสี่ยงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ(p=.05) การเว้นระยะห่างเมื่ออยู่ในสถานที่เสี่ยง ในเดือนที่ 3, 4 และ 5 กลุ่มตัวอย่าง 3 ใน 5 คนที่มีการใกล้ชิดมากกว่าครึ่งเมตร แต่มีการสวมหน้ากากปิดปากและจมูกถูกต้องตลอดเวลา ประวัติการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ยืนยันเป็นโควิด พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p= .01 และ .05 ตามลำดับ) โดยมีการสัมผัสกับผู้ป่วย ในเดือนที่ 3 และเดือนที่ 4 และพบผู้ที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเป็นโควิด เป็นกลุ่มตัวอย่างในโรงพยาบาล 1 คน และ มีประวัติไปพื้นที่เสี่ยงสูง เป็นกลุ่มตัวอย่างในสายสนับสนุน ติดเชื้อ 1 คน รวมมีผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด 2 ราย (ร้อยละ 0.63) แต่มีผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อทั้ง 2 ราย จำนวนทั้งหมด 9 คน ได้รับการตรวจ ATK ผลปกติ จึงสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดได้ ซึ่งยืนยันจากผลประเมินพฤติกรรมในภาพรวมปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA ดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก ( =4.91, S.D=0.34) โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านพฤติกรรมเมื่อไปยังสถานที่เสี่ยง
( =3.40, S.D =1.19) รองลงมาคือ ระยะเวลาที่อยู่สถานที่เสี่ยง ( =3.17, S.D =1.14)

สรุปข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความร่วมมือและการปฏิบัติตามมาตรการเป็นอย่างดี ทำให้สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดได้ แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานมีมาตรการและกำกับติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

World Health Organization. (‎2020)‎. Clinical management of severe acute respiratory infection (‎SARI)‎ when COVID-19 disease is suspected: interim guidance, 13 March 2020. World Health Organization. Available from: https://apps. who.int/iris/handle/10665/331446

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์.รายงานผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (COVID-19) รายใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อเมษายน 2564].เข้าถึงได้จาก https://nsn.moph.go.th/

Adhikari SP, Meng S, Wu Y, Mao Y, Ye R,Wang Q, et al. Epidemiology, causes, clinicalmanifestation and diagnosis, preventionand control of coronavirus disease (COVID-19) duringthe early outbreak period: a scoping review.Infect Dis Poverty 2020;9(1).

Guo T, Fan Y, Chen M, Wu X, Zhang L, He T, et al.Cardiovascular Implications of Fatal Outcomes of PatientsWith Coronavirus Disease 2019. JAMA Cardiol 2020;5(7):811.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล,และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา.วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(2):19-30.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ของผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลตำรวจ 2563;12(2):323-337.

Mackay IM. The Swiss cheese infographicthat went viral. Virology Down Under 2020.Available from: https://virologydownunder.com/the-swiss-cheese-infographic-that-went-viral

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด(close contact tracing) [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อเมษายน2564]. เข้าถึงได้จากhttps://www3.dmsc.moph.go.th/page- view/27

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด(close contact tracing) [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th

AnamaiMedia. การนำ Swiss cheese modelมาใช้ในการลดการแพร่กระจายโรค COVID-19[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จากhttps://multimedia.anamai.moph.go.th/ news/161063

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09/25/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย