ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่ของแม่หลังคลอดครรภ์แรกที่ทำงานนอกบ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, แม่ทำงานนอกบ้าน, บริการสาธารณสุข, นมผสม, อาหารตามวัยบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการให้นมแม่ของแม่หลังคลอดครรภ์แรกที่ทำงานนอก ทำการศึกษาในมารดาที่มีบุตรอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี ที่คลอดและมารับวัคซีนตามนัดที่คลินิกสุขภาพเด็กดีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัย ที่ 1 เชียงใหม่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 119 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของไอโอวา (IIFAS) การได้รับบริการสาธารณสุขฯ และการสนับสนุนทางสังคมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ Chi-square และ Spearman's Rank Correlation ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 18-26 ปี ร้อยละ 53.8 มีระยะเวลาให้นมแม่น้อยกว่า 6 เดือนร้อยละ 67.2 ให้นมแม่เป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่า และร้อยละ 32.8 ของทารกเปลี่ยนไปทานนมผสมเมื่ออายุ 4-7 เดือน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 93.3 มีความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระดับสูง และ
ร้อยละ 68.9 มีทัศนติต่อนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงนมผสมต่อเดือน รายได้ของครอบครัว ผู้เลี้ยงดูหลักในช่วง 1 ปีแรก และการอยู่ไฟมีความสัมพันธ์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลเด็ก เด็กทุกคนควรได้รับนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และได้รับนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยไปจนถึง 2 ปี การดูแล สนับสนุน และช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้แม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
References
กุสุมา ชูศิลป์. สถานการณ์ทั่วโลก ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. 2555[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://library.thaibf.com/bitstream/handle/023548404.11/535
UNICEF THAILAND. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/ thailand/media/206
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.รายงานประจำปี 2555. กรุงเทพฯ; 2558. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/annual-report-bohp
จินตนา พัฒนพงศ์ธร ชัยชนะ บุญสุวรรณ, และนฤมล ธนเจริญ. ผลการศึกษา “พัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557” (The study of Thai Early Child Development). กรุงเทพฯ; 2559. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/ewt-news-php-nid-1532/193577
จิรา ขอบคุณ, ภัทรกร สฤษชสมบัติ และนฤมล ขุริรัง. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง กำลังคนด้านสุขภาพกับการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วันที่ 2-4 มิถุนายน 2553 จัดโดยสถาบันพระบรมราชชนกร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2553; 24 – 31
สมชาย โอวัฒนาพานิชม, กชกร สมมัง, และพนิดาสุขประสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558,ปี24 ฉบับที่ 2; 24 – 26.
สุนันทา ชุ่มจิตร์. รายงานการทบทวนวรรณกรรมเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ครบ 6 เดือนในมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอายุ 6 เดือนขึ้นไป. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์; 2560 6(1): หน้า 37-48
เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม และคณะ. รายงานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและระยะเวลาการเลี้ยงดูบุตร ด้วยนมมารดาของมารดาในเขตภาษีเจริญ. กรุงเทพฯ: 2556 รายงานการวิจัย 2563; 6 - 21.
ศศิธารา น่วมภา, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร, พฤหัส จันทร์ประภาพ, ปัจจัยส่วนบุคคล เวลาที่เริ่มให้นมแม่ และการสนับสนุนจากพยาบาล ในการทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่าย ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ ต.ค. 2563]; เข้าถึงได้จาก:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/11053
ภัทรพร ชูประพันธ์, วีณาเที่ยงธรรม และปาหนัน พิชยภิญโญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยง ลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของแม่ในเขตภาคกลางตอนล่าง. Graduate Research Conference (GRC 2014) มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2557 MMP73, 1723-1732.
จีรวรรณ วรรณโร และประวิทย์ วรรณโร. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บ้าน: การศึกษาที่โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่. วารสารวิชาการเขต 12 (กรกฎาคม-กันยายน) 2546.หน้า 39-48
พรนภา ตั้งสุขสันต์, เอมพร รตินธร, อมีพร รตินธร, ประสบการณ์และปัจจัยเชิงบริบทที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างเดียวในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ ต.ค. 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://repository. li.mahidol.ac.th/handle/123456789/3423
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.