การปรับปรุงกระบวนการให้บริการงานจ่ายกลางโดยใช้แนวคิดแบบLEAN

ผู้แต่ง

  • นงค์เยาว์ แสงคำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการให้บริการงานจ่ายกลางโดยใช้แนวคิดแบบ Lean มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเบิกจ่ายอุปกรณ์การแพทย์ที่ปราศจากเชื้อโดยนำแนวคิดแบบ Lean มาใช้เป็นหลักใน
การปรับปรุงการให้บริการ ด้วยการค้นหาความสูญเปล่า (waste) ที่ได้ก่อนการปรับปรุงกระบวนการ
(Pre Lean) มาปรับให้เป็นคุณค่า (value) ของงานใหม่ (Post Lean) จากการวิเคราะห์กระบวนการให้บริการงานจ่ายกลางรูปแบบเดิม พบความสูญเปล่าของกระบวนการ ได้แก่ ความสูญเปล่าด้านเวลาการขนย้าย (transportation) ความสูญเปล่าด้านวัสดุคงคลัง (inventory) และความสูญเปล่าด้านการบันทึกที่ทำซ้ำซ้อน (Excessive processing)

          ก่อนปรับปรุงกระบวนการ (Pre Lean) ความสูญเปล่าจากการขนย้าย (transportation)เกิดจากระยะเวลาที่ พนักงานช่วยการพยาบาลใช้ในการส่งของปนเปื้อนและรับของปราศจากเชื้อรอบเช้าและบ่ายทั้งไปและกลับ รวมเวลา 366 นาทีต่อวัน ซึ่งแยกเป็นเวลาของการเดินทางไป-กลับของ พนักงานช่วยการพยาบาลทุกงานรวม 181 นาทีต่อวัน (ร้อยละ 49.4ของเวลา Pre Lean)  และแยกเป็นเวลา ขณะรอส่งของปนเปื้อนพร้อมกับรอรับของปราศจากเชื้อที่งานจ่ายกลางรวมทุกงาน 185 นาทีต่อวัน (ร้อยละ 50.6 ของเวลา Pre Lean) และระยะทางของการเดินทางรอบเช้าและบ่ายทั้งไปและกลับของทุกคนรวมกันเท่ากับ 2,740 เมตร เมื่อทำการปรับปรุงกระบวนการให้บริการ (Post Lean)  โดยให้บุคลากรของงานจ่ายกลาง-ซักฟอกจำนวน  2 คนกระทำกิจกรรมแทนพนักงานช่วยการพยาบาลของทุกงาน เนื่องจากงานจ่ายกลาง-ซักฟอกต้องขึ้นไปรับผ้า/จ่ายผ้าทุกจุดบริการอยู่แล้ว พบว่าใช้เวลารอบเช้าและบ่ายทั้งไปและกลับรวมเฉลี่ย 207 นาที และระยะทางลดลงเหลือเพียง 1,840 เมตร เนื่องจากพื้นที่จุดบริการอยู่ต่อเนื่องกันไปจึงสามารถรับ-จ่ายได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องมีการเดินทางซ้ำไป-กลับดังเช่นพนักงานช่วยการพยาบาลทุกงานที่ต้องเดินทางไปทำกิจกรรมที่งานจ่ายกลางกันเองเพื่อให้ทันรอบการทำงานของงานจ่ายกลาง (ก่อนเวลา 9.30 น.ของทุกวัน) เมื่อออกแบบกระบวนการให้บริการรูปแบบใหม่ (Post Lean) จึงนำเวลา 366 นาทีของช่วง Pre Lean ที่ได้มาจากการขจัดความสูญเปล่าจากการขนย้าย คืนมาให้พนักงานช่วยการพยาบาลช่วยทำกิจกรรมให้กับหน่วยบริการที่ประจำอยู่ ความสูญเปล่า (waste) จึงเปลี่ยนเป็นคุณค่า (value) งานใหม่ด้วยการได้เวลาคืนมาให้พนักงานช่วยการพยาบาลได้ช่วยกิจกรรมทางการพยาบาลเบื้องต้นร่วมกับพยาบาลในหอผู้ป่วยหรือในคลินิกที่ปฏิบัติงานอยู่ได้อย่างเต็มที่ มีเวลาตรวจสอบยอดอุปกรณ์การแพทย์ปราศจากเชื้อคงคลังประจำวัน แจ้งยอดเบิกอุปกรณ์การแพทย์ให้สอดคล้องกับปริมาณผู้รับบริการประจำวัน หมุนเวียนลำดับการใช้อุปกรณ์การแพทย์ให้เป็นปัจจุบัน และจัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์ปราศจากเชื้อให้เป็นระเบียบ จึงลดอัตราการคืนวัสดุคงคลังที่หมดอายุ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่เสียไปจากการคงคลังวัสดุ เป็นการลดความสูญเปล่าของวัสดุคงคลัง (Inventory) ส่วนความสูญเปล่าด้านการบันทึกที่ทำซ้ำซ้อน (Excessive processing) คือการบันทึกรายการของปราศจากเชื้อที่หมดอายุ ก่อนการปรับปรุง (Pre Lean) ทั้งงานจ่ายกลางและหน่วยงาน 13 งานบันทึกการคืนของปราศจากเชื้อที่หมดอายุไว้ในบันทึกของงานตนเอง หลังปรับปรุง (Post Lean) ให้บันทึกที่งานจ่ายกลางเพียงจุดเดียวและงานจ่ายกลางคืนข้อมูลให้แต่ละหน่วยงานทราบ คุณค่ารวมที่ได้จากการปรับระบบการให้บริการงานจ่ายกลางโดยใช้แนวคิดแบบLeanคือ ทำให้ พนักงานช่วยการพยาบาลสามารถช่วยงานด้านการพยาบาลพื้นฐานร่วมกับทีมพยาบาลในหน่วยบริการได้มากขึ้น มีเวลาดูแลจัดเก็บวัสดุคงคลังปราศจากเชื้อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้รับบริการ เป็นการลดค่าใช้จ่ายให้องค์กร และสามารถไปช่วยงานจุดบริการอื่นที่ขาดอัตรากำลัง ทีมบริหารการพยาบาลได้นำคุณค่างานใหม่นี้ไปเป็นแนวทางในการกำหนดภาระหน้าที่งาน (Job description) ของพนักงานช่วยการพยาบาล

References

ณัชชา รุ่งโรจน์พานิช. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา. ว.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2563]; 2:31-5. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org › index.php › TUHJ › article › download

กัญยาณี จีราระรื่¬นศักดิ, ทิพาพันธ์ สังฆะพงษ์, รัตนา ปานเรียนแสน. การปรับปรุงกระบวนการบริการแผนกผู้ป่วยนอกคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที¬๗[อินเทอร์เน็ต]. 2559[เข้าถึงเมื่อ10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/5-01/article/view/572.2625

คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล.Leanในบริการสุขภาพ[อินเทอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อ10ม.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th›download_count

ศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.ความหมายของ Lean[อินเทอร์เน็ต].2560

[เข้าถึงเมื่อ10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://medinfo2.psu.ac.th/qc/index.php?option=com_content&view=article&id= 72&Itemid=95

ผศ.สมจิตร ลาภโนนเขวา. Service Value Stream Management (SVSM):การประยุกต์ ใช้แนวคิด Lean ในอุตสาหกรรมบริการ[อินเทอร์เน็ต]. 2016[เข้าถึงเมื่อ10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://www.tpa.or.th/ publisher/pdfFileDownloadS/p29-32.pdf

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันเพื่อปัองกันควบคุมการ ติดเชื้อในโรงพยาบาล[อินเทอร์เน็ต]. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันเพื่อปัองกันควบคุ.pdf (thainapci.org)

พันธิภา พิญญะคุณ, อารี ชีวเกษมสุข, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. การพัฒนารูปแบบการบริการคลินิก เบาหวานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนโรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี.ว.พยาบาลทหารบก[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563];18:280-90. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org › JRTAN › article › view

ลัดดา ผลรุ่ง, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, อรอนงค์ วิชัยคำ. การประยุกต์แนวคิดลีนในการปรับปรุงกระบวนการจำหน่ายผู้ป่วยหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. ว.พยาบาลสาร[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563];47:440-52. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/cmunursing/article/view/241834/164616

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. บทความ/วิจัย เรื่อง : ค้นหา 615 การ Re-Sterile อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ รพ.กมลาไสย[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.86.16 › kmblog ›page_research_detail

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.Lean Sterile Store Room B - ศิริราช พยาบาล:นวัตกรรมดีเด่นโครงการติดดาวประจำปี 2557[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th›download _count

กาญจนา สันอี, หรอหมาน เส็มหมาด. Re-check to Re- Sterile:กระบวนการพัฒนาคุณภาพในการ Re – Sterile หน่วยงานจ่ายกลางโรงพยาบาลกงหรา อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://data.ptho.moph.go.th › uploads

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/07/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย